วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แบบทดสอบ 25 ข้อ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต

วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2555

แบบทดสอบ 25 ข้อ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต


คำชี้แจง ให้นักศึกษาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

ข้อที่1)  ข้อใดเป็นประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต  
ก. เป็นแหล่งสำหรับค้นหาความรู้ขนาดใหญ่

ข้อที่ 2) โปรโตคอล หรือ ภาษากลางที่ใช้เป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น คือ โปรโตคอลใด    
ค. โปรโตคอล TCP/IP

ข้อที่ 3)  ข้อใดคือความหมายของคำว่า "โดเมนเนม " (Domain Name)   
ค.เป็นชื่อที่ใช้เรียกแทนตัวเลขไอพีแอดเดรสของเครื่อง

ข้อที่ 4)  192.168.1.99 หมายเลขดังกล่าวคืออะไร
ค.หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเครือข่าย
  
ข้อที่ 5)  ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์   
ง. เครื่องเวิร์คสเตชั่น

ข้อที่ 6)  สาย Lead Line เหมาะสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ณ สถานที่ใด   
ก.เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวของที่บ้าน
   
ข้อที่ 7)  สำหรับ URL ของเว็บเพจ http://www.singburivc.ac.th/home/index.php ส่วนใด คือส่วนที่เป็น Host name ของ URL   
ข.www.samakkee.ac.th

ข้อที่ 8)  สำหรับ URL ของเว็บเพจ http://www.singburivc.ac.th/home/index.php ส่วนใดคือส่วนที่เป็น "ส่วนระบุตำแหน่ง" ของ URL  
ง. index.php

ข้อที่ 9)  สำหรับตัวย่อนามสกุลชอง URL ที่เป็น .net นั้น บอกเราได้ว่าเจ้าของเว็บไซต์มาจากองค์กรใด    
ก.บริษัท 

ข้อที่ 10)  เว็บไซต์ www.boga.gov บอกเราได้ว่าเจ้าของเว็บไซต์มาจากองค์กรใด   
  ข.องค์กรรัฐบาล

ข้อที่ 11)  ปุ่มคำสั่งใดบน Inrenet Explorer ที่ควรเลือกใช้ เมื่อมีปัญหาในการโหลดเว็บเพจ    
ค. ปุ่ม Refresh

ข้อที่ 12)  หากต้องการกระโดดไปยังหน้าเว็บเพจที่เคยเปิดชมเมื่อวานนี้ ควรเลือกใช้ปุ่มคำสั่งใด    
ก.ปุ่ม Go To

ข้อที่ 13)  ป๊อบอัพ คืออะไร    
ค. หน้าต่างเว็บใหม่ที่เปิดขึ้นมาในระหว่างที่เราท่องเว็บอยู่

ข้อที่ 14)  เราจะดาวน์โหลดไฟล์ในอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยได้อย่างไร    
ง. ถูกทั้ง ก และ ค.

ข้อที่ 15)  www.google.co.th สามารถค้นหาสิ่งใดได้บ้างบนอินเทอร์เน็ต    
ง. ถูกทุกข้อ

ข้อที่ 16)  ไฟล์วอล์ (Firewall) คืออะไร    
ก. ระบบป้องกันผู้บุกรุก

ข้อที่ 17)  การสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ตมีกี่รูปแบบ    
ค. 3 รูปแบบ
 
ข้อที่ 18)  โปรแกรมใดไม่ใช่โปรแกรมสำหรับสนนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต    
ง. Internet Explprer

ข้อที่ 19)  ไวรัสคอมพิวเตอร์ คืออะไร    
ค.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พยายามเข้ามาในเครื่อง

ข้อที่ 20)  ข้อใดไม่ใช่โปรแกรม Anti Virus    
ข. Nero

ข้อที่ 21)  Bit torrent คืออะไร    
ข. โปรแกรมแลกเปลี่ยนไฟล์ผ่านอินเทอร์เน็ต

ข้อที่ 22)  ข้อใดเป็นโปรแกรมประเภท Bit torrent      
ข.Bit Comet

ข้อที่ 23)  E - Mail คืออะไร    
ค. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์

ข้อที่ 24) ข้อใดไม่ใช่ E - Mail    
ค. singburi.singburivc.ac.th

ข้อที่ 25) เว็บใดไม่สามารถสมัครใช้บริการ E - Mail ได้    
ก. www.singburivc.ac.th   

ลิขสิทธ์บนโลกออนไลน์

SOPA และ PIPA เป็นอีกตัวอย่างของการกำกับดูแลในโลกนวัตกรรม ที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ในธุรกิจของเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัญหาที่สำคัญ คือ เป็นการเพิ่มขอบเขต อำนาจ และความผิดให้เกินกว่าที่เคยกำหนดไว้ใน Digital Millennium Copyright Act (DMCA) ซึ่งถูกบังคับใช้ในปี 1998 และได้เคยกำหนด Safe Harbor สำหรับผู้ให้บริการที่ได้ล่วงละเมิดลิขสิทธิ์โดยมิได้เจตนา หากได้แก้ไขการกระทำผิดหลังจากได้ถูกแจ้งเตือน

ในยุค Social Media ข้อมูลข่าวสารส่วนใหญ่ล้วนถูกนำเสนอโดยผู้ใช้ ซึ่งผู้ให้บริการมีหน้าที่อำนวยความสะดวกในการนำเสนอ ส่งต่อ และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ใช้งาน แต่ถึงกระนั้น SOPA และ PIPA ได้กำหนดความผิด โดยผู้ให้บริการ เช่น Wikipedia, Facebook, Twitter ฯลฯ ต้องรับผิดชอบต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใช้งาน แม้ทางบริษัทจะไม่มีส่วนรู้เห็นก็ตาม นอกไปจากนี้ ยังได้กำหนดความผิดต่อการสร้างลิงค์ไปสู่เว็บไซต์ที่มีการละเมิด แม้จะเป็นผลลัพธ์ของการสืบค้นโดย Search Engine เช่น Google

ปัจจุบันมีการนำเสนอข้อมูลข่าวสารบน Social Media กว่าล้านครั้งในทุกๆ หนึ่งนาที ซึ่งได้เปลี่ยนแนวคิด แนวปฏิบัติไปจากรูปแบบเดิม การที่ต้องมาตรวจสอบหรือกระทั่งรับผิดต่อข้อมูลข่าวสารทุกชิ้นทุกประการที่มีการนำเสนอ ทำได้ยากมากหรือเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับผู้ให้บริการ Social Media ในกรณีของ Search Engine อีกเช่นกัน Google ใช้ระบบ Software เพื่อทำสารบัญเว็บนับล้านล้านหน้า และประมวลผลสืบค้นให้กับผู้ใช้งานอย่างอัตโนมัติ หากต้องมาตรวจสอบหรือรับผิดชอบต่อผลสืบค้นทุกชิ้นทุกประการ ย่อมทำได้ยากหรือไม่ได้เลย

ที่ได้กล่าวไปนั้น เป็นเพียงบางส่วนของปัญหาที่ได้เกิดขึ้น จากการพยายามกำกับดูแล ที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง

อย่างไรก็ดี ปัญหาเช่น SOPA และ PIPA กลับไม่ใช่เรื่องใหม่ เมื่อปีที่แล้ว ในประเทศไทย ได้มีความพยายามที่จะแก้ไข พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการเพิ่มขอบเขต อำนาจ และความผิดให้มากกว่าฉบับเดิมที่ได้ระบุไว้ในปี 2550 โดยส่วนหนึ่งได้มีการระบุความผิดของผู้ดูแลระบบ จากเดิมเป็นการระบุความผิดของผู้ให้บริการ ทั้งนี้ กลับสามารถสร้างปัญหาให้ได้มากกว่า SOPA และ PIPA จนกระทั่งเกิดการเอาผิดกับประชาชนและผู้ใช้ Social Media อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ เป็นที่มาของการจัดเสวนา เล่นเน็ตติดคุก : พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ใหม่ คุ้มครองหรือคุกคาม แต่เคราะห์ดีที่ร่างฉบับนี้ ไม่ได้ถูกบังคับใช้เป็นกฎหมาย หลังเกิดการประท้วงอย่างล้นหลาม

แต่ถึงกระนั้น เรื่องราวของ SOPA และ PIPA กลับสะท้อนให้เห็นว่า Social Media เป็นสื่อที่มีอานุภาพ จากการประท้วงในรูปแบบต่างๆ เพียง 24 ชั่วโมง ซึ่งได้ชัยชนะ และกฎหมายสองฉบับได้ถูกชะลอออกไปอย่างไม่มีกำหนด

หากมองในเชิงเปรียบเทียบ อาจเป็นข้อได้เปรียบของชาวอเมริกัน ที่ Social Media ที่ทรงอิทธิพลที่สุดล้วนเป็นของคนชาติ การรวมตัวเพื่อแสดงจุดยืนจึงสามารถกระทำได้ แต่สำหรับประเทศไทย กลับไม่มี Social Media ที่ทรงอิทธิพลของตัวเอง การรวมตัวเพื่อแสดงจุดยืนกลับทำได้ยาก ในขณะที่การประท้วง SOPA และ PIPA กลับถูกสะท้อนถึงทั่วโลก แต่การประท้วง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กลับเป็นเรื่องราวเฉพาะกลุ่ม ที่ประชากรของประเทศส่วนใหญ่ไม่ได้รับรู้เลย

สำหรับผู้ใช้สื่อออนไลน์ทุกคน เรื่องนี้ไม่ได้ไกลตัวอีกต่อไป ควรเฝ้าระวังถึงการลิดรอนสิทธิ์ หรือความเสี่ยงต่อการกระทำผิด จากการกำกับดูแลในโลกเทคโนโลยี ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่าง Disruptive Change
 พรบ. คอมพิวเตอร์ พ . ศ . 2550 ฉบับย่อ เข้าใจง่าย
พรบ. คอมพิวเตอร์ พ . ศ . 2550 ซึ่งได้ประกาศ และบังคับใช้แล้วนั้น ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2550 นี้ พวกเราเลยต้องมารับรู้กันซะหน่อย ว่าทำอะไรผิด บ้างถึงจะถูกกฎหมายนี้ลงโทษเอาได้ พวกเราจะได้ระวังตัวกัน ไม่เผลอไผลให้อารมณ์ พาไปจนทำผิดเน้อะ!!!
ผมจะถอดความโดยสรุปเลยก็แล้วกันนะครับ ว่าทำอะไรผิดแล้วจะโดนลงโทษบ้าง
1.        เจ้าของไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเราแอบเข้าไป ... เจอ คุก 6 เดือน
2.        แอบไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของชาวบ้าน แล้วเที่ยวไปโพนทะนาให้คน อื่นรู้ ... เจอคุกไม่เกินปี
3.         ข้อมูลของเขา เขาเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ดี ๆ แล้วแอบไปล้วงของ เขา ... เจอคุกไม่เกิน 2 ปี
4.        เขาส่งข้อมูลหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วนตั๊วส่วนตัว แล้วเรา ทะลึ่งไปดักจับข้อมูลของเขา ... เจอคุกไม่เกิน 3 ปี
5.        ข้อมูลของเขาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเขาดี ๆ เราดันมือบอนไปโมมันซะ งั้น ... เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
6.        ระบบคอมพิวเตอร์ของชาวบ้านทำงานอยู่ดี ๆ เราดันยิง packet หรือ message หรือ virus หรือ trojan หรือ worm หรือ (โอ๊ยเยอะ ) เข้าไปก่อกวนจนระบบเขาเดี้ย ง ... เจอคุกไม่เกิน 5 ปี
7.        เขาไม่ได้อยากได้ข้อมูลหรืออีเมลล์จากเราเล้ย เราก็ทำตัวเป็นอีแอบเซ้าซี้ ส่งให้เขาซ้ำ ๆ อยู่นั่นแหล่ะ จนทำให้เขาเบื่อหน่ายรำคาญ ... เจอปรับไม่ เกินหนึ่งแสนบาท
8.         ถ้าเราทำผิดข้อ 5. กับ ข้อ 6. แล้วมันสร้างความพินาศใหญ่โตในระดับรากหญ้า งานนี้มีซวยแน่ เจอคุกสิบปีขึ้น
9.        ถ้าเราสร้างซอฟต์แวร์เพื่อช่วยให้ใคร ๆ ทำเรื่องแย่ ๆ ในข้อข้างบน ๆ ได้ ... เจอคุกไม่เกินปีนึง เหมือนกัน
10.        โป๊ก็โดน, โกหกก็โดน, เบนโลก็โดน, ท้าทายอำนาจรัฐก็โดน ... เจอคุกไม่ เกิน 5 ปี

ที่มา จาก FW mail


การโฆษณาออนไลน์

การโฆษณาออนไลน์ คือ การสร้างความสนใจไม่ว่าวิธีใดก็ตาม เพื่อจูงใจหรือสนับสนุนให้เกิดความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการโดยผ่านทางอินเทอร์เน็ต[1]
รูปแบบการโฆษณาที่เป็นที่นิยมที่สุดบนสื่อออนไลน์ คือการใช้แถบโฆษณา การโฆษณารูปแบบนี้มีให้เห็นอยู่ทั่วไปตามเว็บไซต์ต่างๆ และถ้าเจ้าของสินค้าต้องการเพิ่มความเด่นให้กับโฆษณาของตนเอง ก็อาจจะเลือกใช้สื่อโฆษณาแบบลอย และในบางกรณี เจ้าของสินค้าหรือบริการอาจจะไม่อยากตั้งใจขายสินค้าของตนเองอย่างจงใจ ก็สามารถเลือกการโฆษณาแฝงตามสื่อออนไลน์ในรูปแบบอื่น[2]

คอมเมิร์ซคือ


หลักการด้านอีคอมเมิร์ซ
   พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซคือ  การค้าขายผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เนต  อินเตอร์เนตจะเปลี่ยนวิถีทางการดำรงชีวิตของทุกคน  อินเตอร์เนต จะเปลี่ยนวิธีการศึกษาหาความรู้ อินเตอร์เนตจะเปลี่ยนวิธีการทำมาค้าขาย อินเตอร์เนตจะเปลี่ยนวิธีการหาความสุขสนุกสนาน  อินเตอร์เนตจะเปลี่ยนทุกสิ่งทุกอย่าง และทุกสิ่งทุกอย่างจะรวมกันเข้ามาหาอินเตอร์เนต
   กล่าวกันว่าในปัจจุบันนี้ถ้าบริษัทห้างร้านใดไม่มีหน้าโฮมเพจในอินเตอร์เนตบริษัทห้างร้านนั้นก็ไม่มีตัวตน นั่นคือไม่มีใครรู้จัก เมื่อไม่มีใครรู้จักก็ไม่มีใครทำมาค้าขายด้วย แล้วถ้าไม่มีใครทำมาค้าขายด้วยก็อยู่ไม่ได้ต้องล้มหายตายจากไป
   ว่ากันว่าอินเตอร์เนตคือแหล่งข้อมูลข่าวสาร และข้อมูลข่าวสารอย่างหนึ่งก็คือ ข้อมูลเกี่ยวกับราคาสินค้า ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้านั้นๆ และข้อมูลเกี่ยวกับผู้ขายผู้ผลิต  ซึ่งในปัจจุบันผู้บริโภคมีทางเลือกในการที่จะซื้อสินค้ากันมากขึ้น เช่นการเข้าไปเลือกซื้อจากในเว็บไซต์ มีการเข้าไปเปรียบเทียบราคาสินค้าก่อนที่จะซื้อ  หากจะกล่าวว่า “ข่าวสาร” คืออำนาจ ในปัจจุบันนี้ผู้บริโภคก็ได้รับการติดอาวุธอย่างใหม่ที่มีอำนาจมากพอที่จะต่อรองกับผู้ผลิต และผู้จำหน่ายสินค้าได้ผลดีที่สุดเท่าที่เคยมีมาและพฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วโลกก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง
   ในการทำอีคอมเมิร์ซนั้นไม่ใช่เพียงแค่เป็นเว็บเพจหรือช่องทางการจำหน่ายสินค้า แต่อีคอมเมิร์ซยังมีความหมายรวมไปถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อลดค่าใช้จ่าย ลดเวลาที่ต้องสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ รวมไปถึงการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของกับผู้บริโภค และผู้ค้าส่ง สำนักวิจัยไอดีซี (IDC) ได้ประมาณรายได้ของการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบธุรกิจต่อธุรกิจ (B-to-B) ว่าเพิ่มขึ้นจาก 80 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 3,200 พันล้านบาทในปี พ.ศ. 2542 เป็น 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 40 ล้านล้านบาทในปี พ.ศ. 2546
คำจำกัดความของอีคอมเมิร์ซ
   คำจำกัดความของอีคอมเมิร์ซนั้นได้มีผู้ให้นิยามไว้ต่างๆ กันอันเนื่องมาจากมองในแง่มุมที่แตกต่างกัน ถ้าถามอาจารย์สามคนว่าอีคอมเมิร์ซคืออะไร ก็คงได้คำตอบสี่คำตอบ คือแต่ละคนให้คำตอบคนละคำตอบ แล้วเมื่อมาประชุมปรึกษาหารือกันก็ตกลงกันเป็นอีกคำตอบหนึ่ง
   ถ้าถามนักอินเตอร์เนตหรือที่เรียกกันว่าอินเตอร์นอต (Internaut แบบเดียวกับ Asternaut) ก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือระบบการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนต
ถ้าถามนักสื่อสารก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือการใช้ระบบสื่อสารในการส่งโฆษณา สินค้าและบริการไปให้ลูกค้า การใช้ระบบสื่อสาร โดยลูกค้าสั่งซื้อสินค้าและการจ่ายเงิน
   ถ้าถามผู้ให้บริการก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือการให้บริการให้บริษัทห้างร้านต่างๆ ได้โฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้า ให้บริการผู้ซื้อได้ดูโฆษณาเลือกหาสินค้า และให้บริการเจ้าของกิจการได้ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าและให้บริการหลังการขายแก่ลูกค้า
ถ้าถามนักเทคโนโลยี ก็อาจจะได้คำตอบว่า อีคอมเมิร์ซคือการนำเทคโนโลยีมาใช้ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการค้าขาย

   สรุปอย่างง่ายๆ โดยสังเขปก็อาจจะได้ความว่า อีคอมเมิร์ซ ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
     (1) ผู้ประกอบการจัดตั้งร้านค้าหรือทำหน้าโฆษณาที่เรียกว่าโฮมเพจหรือเว็บเพจบนอินเตอร์เนต
     (2) ผู้ซื้อเข้าไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าในอินเตอร์เนต
     (3) ผู้ซื้อติดต่อสอบถามรายละเอียดจากผู้ขาย เช่น ของดีจริงหรือไม่ ส่งได้รวดเร็วเท่าใด มีส่วนลดหรือไม่ เป็นต้น
     (4) ผู้ซื้อสั่งสินค้าและระบุวิธีจ่ายเงิน เช่น โดยผ่านบัตรเครดิต เป็นต้น
     (5) ธนาคารตรวจสอบว่าผู้ซื้อมีเครดิตดีพอหรือไม่และแจ้งให้ผู้ขายทราบ
     (6) ผู้ขายส่งสินค้าให้ผู้ซื้อ
     (7) ผู้ซื้ออาจจะใช้อินเตอร์เนตในการติดต่อขอบริการหลังการขายจากผู้ขาย้
ประวัติวิวัฒนาการอีคอมเมิร์ซโดยสังเขป
     การค้าอิเล็กทรอนิกส์นั้นเริ่มขึ้นบนโลกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2513 ซึ่งได้มีการเริ่มใช้ระบบโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเอฟที (EFT = Electronic Fund Transfer) แต่ในขณะนั้นมีเพียงบริษัทขนาดใหญ่และสถาบันการเงินเท่านั้นที่ใช้งานระบบโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ต่อมาอีกไม่นานก็เกิดระบบการส่งเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีดีไอ (EDI = Electronic Data Interchange) ซึ่งสามารถช่วยขยายการส่งข้อมูลจากเดิมที่เป็นข้อมูลทางการเงินอย่างเดียวเป็นการส่งข้อมูลแบบอื่นเพิ่มขึ้น เช่น การส่งข้อมูลระหว่างสถาบันการเงินกับผู้ผลิต หรือผู้ค้าส่งกับผู้ค้าปลีก เป็นต้น
หลังจากนั้นก็มีระบบสื่อสารรวมถึงโปรแกรมอื่นๆ เกิดขึ้นมากมายตั้งแต่ระบบที่ใช้ในการซื้อขายหุ้นจนไปถึงระบบที่ช่วยในการสำรองที่พัก ซึ่งเรียกได้ว่าโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคของการสื่อสาร และเมื่อยุคของอินเตอร์เนตมาถึงเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2533 จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เนตก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การค้าอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้เกิดขึ้น เหตุผลที่ทำให้ระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์เติบโตอย่างรวดเร็วคือโปรแกรมสนับสนุนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมามากมาย รวมถึงระบบเครือข่ายด้วย พอมาถึงประมาณปี พ.ศ. 2537 – 2542 ก็ถือได้ว่าระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซก็เป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมอย่างมากและรวดเร็ว ซึ่งวัดได้จากการที่มีบริษัทต่างๆ ในอเมริกาได้ให้ความสำคัญและเข้าร่วมในระบบอีคอมเมิร์ซอย่างมากมาย
ประเภทของอีคอมเมิร์ซ
   มีการแบ่งประเภทอีคอมเมิร์ซกันหลายแบบ เช่น แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 5 ประเภท แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 3 ประเภท แบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 6 ส่วน และแบ่งอีคอมเมิร์ซตามประเภทสินค้าเป็น 2 ประเภท เป็นต้น
อีคอมเมิร์ซ 5 ประเภท ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 5 ประเภทก็ได้ดังต่อไปนี้
     (1) ธุรกิจกับผู้ซื้อปลีกหรือบีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) คือประเภทที่ผู้ซื้อปลีกใช้อินเตอร์เนตในการซื้อสินค้าจากธุรกิจที่โฆษณาอยู่ในอินเตอร์เนต
     (2) ธุรกิจกับธุรกิจหรือบีทูบี (B-to-B = Business-to-Business) คือ ประเภทที่ธุรกิจกับธุรกิจติดต่อซื้อขายสินค้ากันผ่านอินเตอร์เนต
     (3) ธุรกิจกับรัฐบาลหรือบีทูจี (B-to-G = Business-to-Government) คือประเภทที่ธุรกิจติดต่อกับหน่วยราชการ
     (4) รัฐบาลกับรัฐบาลหรือจีทูจี (G-to-G = Government to Government) คือ ประเภทที่หน่วยงานรัฐบาลหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งติดต่อกับหน่วยงานรัฐบาลอีกหน่วยงานหนึ่ง
     (5) ผู้บริโภคกับผู้บริโภคหรือซีทูซี (C-to-C = Consumer-to-Consumer) คือ ประเภทที่ผู้บริโภคประกาศขายสินค้าแล้วผู้บริโภคอีกรายหนึ่งก็ซื้อไป เช่นที่อีเบย์ดอทคอม(Ebay.com) เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคสามารถจ่ายเงินให้กันทางบัตรเครดิตได้
อีคอมเมิร์ซ 3 ประเภท ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 3 ประเภทก็อาจจะแบ่งได้ ดังต่อไปนี้ ้
     (1)อีคอมเมิร์ซระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจ หรือ บีทูซี (B-to-C = Business-to-Consumer) ซึ่งอาจจะมีตัวอย่างดังต่อไปนี้
     - การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจโดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ กลุ่มสนทนา  กระดานข่าว  เป็นต้น
     - การจัดการด้านการเงิน ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถจัดการเรื่องการเงินส่วนตัว เช่น ฝาก-ถอน เงินกับธนาคาร  ซื้อขายหุ้นกับผู้ค้าหุ้น  เช่น  อีเทรด (www.etrade.com) เป็นต้น
     - ซื้อขายสินค้าและข้อมูล  ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถซื้อขายสินค้าและข้อมูลผ่านอินเตอร์เนตได้โดยสะดวก

     (2)อีคอมเมิร์ซภายในองค์กรหรือแบบอินทราออร์ก (Intra-Org E-commerce) คือ การใช้อีคอมเมิร์ซในการช่วยให้บริษัทหรือองค์ใดองค์กรหนึ่งสามารถปรับปรุงการทำงานภายในและให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้
     - การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรจะสะดวกรวดเร็วจะได้ผลดีขึ้น โดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ และป้ายประกาศ เป็นต้น
     - การจัดพิมพ์เอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีพับลิซซิง (Electronic Publishing) ช่วยให้บริษัทสามารถออกแบบเอกสาร จัดพิมพ์เอกสาร และแจกจ่ายเอกสารได้สะดวกรวดเร็ว และใช้ค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ว่าจะเป็นคู่มือข้อกำหนดสินค้า (Product Specifications) รายงานการประชุม เป็นต้น ทั้งนี้โดยผ่านเว็บ
     - การปรับปรุงประสิทธิภาพพนักงานขาย การใช้อีคอมเมิร์ซแบบนี้ช่วยปรับปรุงการสื่อสารระหว่างฝ่ายผลิตกับฝ่ายขาย และระหว่างฝ่ายขายกับลูกค้า ทำให้ได้ประสิทธิภาพดีขึ้น

     (3)อีคอมเมิร์ซระหว่างองค์กรหรือแบบอินเตอร์ออร์ก (Inter-Org E-commerce)  ซึ่งก็คือแบบเดียวกับแบบที่เรียกว่าบีทูบี (Business to Business) ทั้งนี้โดยมีตัวอย่างต่อไปนี้
     - การจัดซื้อ ช่วยให้จัดซื้อได้ดีขึ้น ทั้งด้านราคา และระยะเวลาการส่งของ
     - การจัดการสินค้าคงคลัง
     - การจัดส่งสินค้า
     - การจัดการช่องทางขายสินค้า
     - การจัดการด้านการเงิน
อีคอมเมิร์ซ 6 ส่วน   ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซเป็น 6 ส่วนก็แบ่งได้ดังต่อไปนี้
     (1)การขายปลีกทางอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเทลลิ่ง (E-tailing= Electronic Retailing) หรือร้านค้าเสมือนจริง (Virtual Storefront) ยอดขายปลีกอิเล็กทรอนิกส์ในอเมริกาใน ค.ศ. 1999 มีมูลค่าเป็นหมื่นล้านบาท
     (2)การวิจัยตลาดทางอิเล็กทรอนิกส์หรือมาร์เก็ตอีรีเซิร์ช (Market E-research) คือการใช้อินเตอร์เนตในการวิจัยตลาดแบบเดียวกับที่สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตทำอยู่ จากการใช้อินเตอร์เนตนี้ บริษัทห้างร้านสามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าปัจจุบัน และผู้ที่อาจจะเป็นลูกค้าในอนาคต ทั้งจากการลงทะเบียนเข้าใช้เว็บ จากแบบสอบถามและจากการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้า การวิจัยตลาด อินเตอร์เนตก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
     (3)อินเตอร์เนตอีดีไอ  หรือการส่งเอกสารตามมาตรฐานอีดีไอโดยใช้อินเตอร์เนต ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายต่ำลงก็ถือว่าเป็นอีคอมเมิร์ซประเภทหนึ่ง
     (4)โทรสารและโทรศัพท์อินเตอร์เนต  การใช้โทรสารและโทรศัพท์ทางไกลผ่านอินเตอร์เนตหรือ วีโอไอพี (VoIP= Voice over IP) นั้นมีราคาต่ำกว่าการใช้โทรสารและโทรศัพท์ธรรมดา และอาจจะใช้เป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
     (6) การซื้อขายระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทต่างๆ จำนวนมากในปัจจุบันติดต่อซื้อขายสินค้ากันโดยผ่านเว็บในอินเตอร์เนต ซึ่งก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของอีคอมเมิร์ซ
     (7) ระบบความปลอดภัยในอีคอมเมิร์ซ ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของอีคอมเมิร์ซ ทั้งนี้ในปัจจุบันมีการใช้วิธีต่างๆ เช่น เอสเอสแอล (SSL= Secure Socket Layer) เซ็ต (SET = Secure Electronic Transaction) อาร์เอสเอ  (RSA = Rivest, Shamir and Adleman) ดีอีเอส (DES= Data Encryptioon Standard) และดีอีเอสสามชั้น (Triple DES) เป็นต้น
อีคอมเมิร์ซ 2 ประเภทสินค้า ถ้าจะแบ่งอีคอมเมิร์ซตามประเภทสินค้าก็แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
     (1)สินค้าดิจิตอล เช่น ซอฟท์แวร์ เพลง วิดีโอ หนังสือ ดิจิตอล เป็นต้น ซึ่งสามารถส่งสินค้าได้โดยผ่านอินเตอร์เนต
     (2)สินค้าที่ไม่ใช่ดิจิตอล เช่น  สินค้าหัตถกรรม สินค้าศิลปชีพ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง เครื่องประดับ เครื่องจักรอุปกรณ์ เป็นต้น ซึ่งต้องส่งสินค้าทางพัสดุภัณฑ์ ผ่านไปรษณีย์หรือบริษัทรับส่งพัสดุภัณฑ์
แนวคิดของอีคอมเมิร์ซ จะประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนหลักๆ คือ
     (1) Customer Relationship Management (CRM) การบริหารความสัมพันธ์ของลูกค้าเพราะลูกค้าคือส่วนสำคัญที่สุดและเป็นส่วนที่เป็นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจ บริษัทไม่สามารถที่จะพัฒนาได้ถ้าขาดความเชื่อมั่นจากลูกค้า เพราะฉะนั้นการปรับปรุงการโต้ตอบระหว่างลูกค้ากับกระบวนการต่างๆ ของธุรกิจ ที่เป็นกระบวนการย่อยซึ่งจะส่งผลต่อลูกค้าโดยรวม
     (2) Supply Chain Management (SCM) เป็นแนวคิดการผสานกลไกทางธุรกิจทั้งหมด ตั้งแต่การนำวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต จนกระทั่งส่งสินค้าถึงมือลูกค้า ช่วยให้บริษัทสร้างระบบการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสาร สินค้า และการบริการ ให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ  นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยระบบงานภายในและภายนอกบริษัท
     (3) Enterprise Resource Planning (ERP) เป็นการวางแผนบริหารทรัพยากรภายในองค์กร โดยการมุ่งเน้นที่จะปรับปรุงระบบการดำเนินงานและการพัฒนาบุคลากรขององค์กร เพื่อให้องค์กรมีขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเป็นการผสานกลยุทธ์ทางธุรกิจ เทคโนโลยี และบุคลากรเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน