วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555

โปรแกรมbrowserแต่ละประเภท

โปรแกรมบราวเซอร์ (Browser)
     เว็บบราวเซอร์ (web browser) หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่    ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเชทีเอ็มแล (HTML)ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับ              เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
ในระยะเริ่มต้นนั้นโปรแกรมบราวเซอร์ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ดูเอกสารของ         เครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บเป็นหลัก จึงทำให้ผู้ใช้จำนวนมากเข้าใจว่าโปรแกรมบราวเซอร์กับโปรแกรมเรียกใช้บริการของเว็บเป็นสิ่งเดียวกัน แต่ในปัจจุบันโปรแกรมบราวเซอร์ได้ขยายขีดความสามารถมากขึ้นเรื่อย ๆ จนสามารถใช้เรียกบริการต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ตได้แทบทุกชนิด โดยการระบุชื่อโพรโตคอลของบริการต่าง ๆ นำหน้าตำแหน่งที่อยู่ (address หรือชื่อ        โดเมนของเครื่องบวกกับชื่อไฟล์บริการของบริการ) ที่ต้องการ เช่น

http://www.netscape.com http://www.cnn.com/welcome.htm
gopher://gopher.tc.umn.edu
ftp://ftp.nectec.or.th/pub/pc
file://C:/WINDOWS/Modem.txt
โพรโตคอล http ที่อยู่คือเครื่อง www.netscape.com
โพรโตคอลhttp ที่อยู่คือเครื่อง www.cnn.com แฟ้ม welcome.htm
โพรโตคอลgopher ที่อยู่คือเครื่อง gopher.tc.cum.edu
โพรโตคอล ftp ที่อยู่คือเครื่อง ftp.nectec.or.th และราก /pub/pc
โพรโตคอลfile ที่อยู่คือฮาร์ดดิสก์ c:\WINDOWS แฟ้ม Modem.txt
เครื่องหมาย :// จะเป็นชนิดของโพรโตคอล และข้อความด้านหลังจะเป็นที่อยู่ของบริการนั้น ๆ (หากไม่ได้ระบุชื่อแฟ้มไว้ด้านหลังชื่อเครื่องโดยใช้ / คั่น จะเป็นการใช้ชื่อแฟ้มเริ่มต้นโดยปริยาย (default) ของเครื่องนั้น) การระบุโพรโตคอลพร้อมที่อยู่เช่นนี้เรียกว่า URL (Uniform Resource Locator) ซึ่งความหมายก็คือการใช้รูปแบบเดียวในการหาทรัพยากรต่าง ๆ นั้นเอง นอกจากนี้ ในตัวอย่างสุดท้ายจะเห็นได้ว่าโปรแกรมบราวเซอร์สามารถใช้ในการเปิดแฟ้มที่อยู่ในฮาร์ดดิสก์ของผู้ใช้ได้เสมือนกับเป็นบริการหนึ่งในอินเทอร์เน็ต นั่นคือโปรแกรมบราวเซอร์มีแนวโน้มที่ชัดเจนว่ากำลังพยายามทำตัวเป็นเปลือก (shell)ที่ครอบอยู่เหนือระบบปฏิบัติการอีกชั้นหนึ่ง อันจะทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานบริการต่าง ๆ ได้กับ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภท โดยไม่ต้องกังวลถึงความแตกต่างของฮาร์ดแวร์หรือระบบปฏิบัติการอีกต่อไป
โปรแกรมบราวเซอร์ระยะแรก ๆ จะเป็นข้อความ (text) ทำให้ไม่ได้รับความนิยม    แต่เมื่อห้องปฏิบัติการ CERN ออกโปรแกรม MOSAIC ซึ่งเป็นบราวเซอร์ที่ใช้ ระบบการติดต่อ   ผู้ใช้แบบกราฟฟิก (GUI) ตัวแรก ก็ทำให้โปรแกรมบราวเซอร์ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์มากนัก เนื่องจากระบบการติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟฟิก ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานบริการต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดายด้วยการชี้แล้วเลือก (point and click) โดยแทบจะไม่ต้องใช้แป้นพิมพ์เลย รวมทั้งบราวเซอร์กราฟฟิกยังทำให้สามารถสร้างเวบเพจที่มีสีสันและรูปภาพสวยงาม อันเป็น การดึงดูดใจให้มีผู้นิยมใช้งานมากขึ้นเรื่อย ๆ
อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน MOSAIC ไม่ได้มีการพัฒนาต่อแล้ว เนื่องจากห้องปฏิบัติการ CERN   ไม่ได้เป็นหน่วยงานที่หวังผลกำไร     การพัฒนาเป็นการพัฒนา  MOSAIC   เพื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเท่านั้น บราวเซอร์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบันก็คือบราวเซอร์ที่เป็นแชร์แวร์ จาก Netscape คือโปรแกรม Netscape Communicator ส่วนอันดับ 2 คือ บราวเซอร์ฟรีแวร์จาก Microsoft คือโปรแกรม Internet Explorer (IE) ซึ่งบราวเซอร์จากทั้ง 2 บริษัทได้มีการขยายขีดความสามารถใหม่ ๆ มากมาย เช่น การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) การใช้งานกลุ่มข่าว (newsgroup) การประชุมทางไกล (video conference) การสร้างเว็บเพจ (web authoring) ตลอดจนการดูภาพแบบสามมิติ (VRML) เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายขีดความสามารถในการแทนที่ระบบปฏิบัติการ และการเพิ่มเทคโนโลยีการผลัก (push) ข้อมูล ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จะไม่รอให้ผู้ใช้เป็นฝ่ายเรียกเข้าอินเทอร์เน็ตเพื่อดึง (pull) ข้อมูล แต่จะส่ง (push) ข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ (เช่น ข่าวต่าง ๆ) มายังเครื่องผู้ใช้
รายชื่อโปรแกรมบราวเซอร์ที่เป็นที่นิยม
  1. อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ (Internet Explorer) โดยบริษัทไมโครซอฟต์
  2. มอสซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ (Mozilla Firefox) โดยมูลนิธิมอสซิลลา
  3. เน็ตสเคป นาวิเกเตอร์ (Netscape Navigator) โดยบริษัทเน็ตสเคป
  4. ซาฟารี (Safari) โดยบริษัทแอปเปิล  คอมพิวเตอร์
  5. โอเปร่า (Opera) โดยบริษัทโอเปร่า ประเทศนอร์เวย์
  6. คามิโน
  7. แมกซ์ทอน

http://media.rajsima.ac.th/sujittra/unit1_p9.html

Browser คืออะไร?

อธิบายอย่างง่ายว่า Browser คือเครื่องมือที่ช่วยให้คุณสามารถท่องเที่ยวไปในโลกอินเตอร์เน็ตได้อย่างไร้ขีดกั้นทางด้านพรมแดน นอกจากนี้ Browser ยังช่วยอำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งในขณะนี้บริษัทผลิตซอฟแวร์ค่ายต่างๆ นับวันจะทวีการแข่งขันกันในการผลิต Browser เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่นักท่องเว็บให้มากที่สุด หน้าตาของ browser แตกต่างกันไปตามแต่การออกแบบการใช้งานของแต่ละค่ายโปรแกรม
 
โปรแกรม Browser ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่ Internet Explorer และ Nescape Navigator แม้ว่าโดยรวมแล้วทั้งสองมีหลักการทำงานที่ค่อนข้างคลายคลึงกัน แต่หน้าตาที่ผิดเพี้ยนกัน คือ ตำแหน่งเครื่องมือ และชื่อเรียกเครื่องมือ อาจทำให้คุณอาจเกิดการสับสนบ้าง หากว่าคุณใช้ Browser ค่ายใดค่ายหนึ่งเป็นประจำ วันหนึ่งคุณอาจสนใจหยิบ Browser ของอีกค่ายหนึ่งมาลองใช้งานดู ความสนุกในการท่องเว็บไซต์ของคุณอาจถูกบั่นทอนลง เพราะความไม่คุ้นเคยกับเครื่องมือ
 www.thaigoodview.com/library/.../itbrowser/browser.html

วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555

อธิบายรูปแบบโครงสร้างและหน้าที่การทำงานของโปรโตคอน

World Wide Web : HTTP
เวิลด์ไวด์เว็บ (World  Wide  Web) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เว็บ (Web) หรือ WWW เป็นแอพพลิเคชันหนึ่งที่ทำให้อินเทอร์เน็ตเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน WWW ใช้โปรโตคอล HTTP (Hyper text transfer Protocol) ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่ใช้รับส่งไฟล์ HTML (Hyper text Markup Protocol)  โดย HTML นั้นเป็นภาษาที่ใช้อธิบายการแสดงเว็บเพจนั้นเอง WWW เป็นแอพพลิเคชันที่ทำงานแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์  กล่าวคือ  WWW  นั้นจะมีโฮสต์เครื่องหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ เรียกว่า “เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) ซึ่งจะทำหน้าที่ให้บริการเอกสาร HTML ส่วนเครื่องไคลเอนท์นั้นใช้โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) เช่น อินเตอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์ (IE) ซึ่งจะร้องขอไฟล์ HTML จากเว็บบราวเซอร์และแสดงผลให้ผู้ใช้ดู

1  กลไกการทำงานของ
โปรโตคอล HTTP เป็นโปรโตคอลที่อยู่ในชั้นแอพพลิเคชันของชุดโปรโตคอล TCP/IP ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบการร้องขอไฟล์ของไคลเอนท์  (เว็บบราวเซอร์) จากเว็บเซิร์ฟเวอร์ และรูปแบบการถ่ายโอนไฟล์จากเว็บเซิร์ฟเวอร์ไปยังไคลเอนท์โดยขั้นตอนคร่าวๆ นั้นได้แสดงในรูปที่ 2.51 ซึ่งอธิบายได้ดังนี้คือ กระบวนการนั้นจะเริ่มที่ทางฝั่งไคลเอนท์ โดยผู้ใช้คลิกในลิงค์ในเว็บเพจ หรือพิมพ์ URL (Uniform Resource Locator) ในช่องที่อยู่ (Address) ของเว็บบราวเซอร์ หลังจากนั้นเว็บบราวเซอร์จะทำการส่งการร้องขอ (HTTP Request) ผ่านเครือข่ายไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์ เมื่อเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ได้รับการร้องขอก็จะทำการค้นหาไฟล์ที่ถูกกำหนดใน URL ซึ่งถ้าพบก็จะตอบกลับ (HTTP  Response) พร้อมกับไฟล์  กลับไปยังฝั่งไคลเอนท์  เว็บบราวเซอร์เมื่อได้รับการตอบกลับก็จะแสดงไฟล์นั้นให้ผู้ใช้ดู  โปรโตคอล HTTP นั้นไม่ได้กำหนดรูปแบบการแสดงผลให้ผู้ใช้ดู ซึ่งหน้าที่นี้เป็นของเว็บบราวเซอร์  ดังนั้นเว็บบราวเซอร์ที่ต่างกันอาจแสดงเว็บเพจไม่เหมือนกันก็ได้
เว็บเพจหรือไฟล์ที่อยู่ในรูปแบบ HTML นั้นจะประกอบด้วยออบเจ็กต์ เช่น  รูปภาพ  (ไฟล์ .jpg, .gif เป็นต้น)  เสียง  และวิดีโอ  เป็นต้น  โดยออบเจ็กต์เหล่านี้จะถูกส่งทีละออบเจ็กต์ผ่านการเชื่อมต่อ TCP ที่สร้างไว้ก่อนหน้า  ดังนั้นถ้ามีออบเจ็กต์เยอะๆ ในไฟล์  ก็จะทำให้กระบวนการนี้ช้าเนื่องจากมีแค่การเชื่อมต่อเดียว แต่ละบราวเซอร์ในปัจจุบันสามารถสร้างการเชื่อมต่อ TCP ได้ทีละหลายๆ การเชื่อมต่อในเวลาเดียวกัน  ดังนั้นเมื่อบราวเซอร์ได้รับการตอบรับ
ครั้งแรกก็จะสร้างการเชื่อมต่อใหม่หลาย ๆ การเชื่อมต่อพร้อมกับการส่งในการร้องขอไปในการเชื่อมต่อเหล่านั้น  ทำให้การถ่ายโอนออบเจ็กต์ทั้งหมดที่ต้องแสดงในเว็บเพจหนึ่งนั้นเร็วขึ้น
                         2  ข้อความการร้องขอและตอบกลับ (HTTP  Message)
มาตรฐานของโปรโตคอล HTTP ที่ใช้ในปัจจุบันคือเวอร์ชัน1.1 (HTTP/1.1)  ซึ่งได้กำหนดรูปแบบข้อมูลที่รับส่งระหว่างไคลเอนท์และเซิร์ฟเวอร์  โดยข้อความที่แลกเปลี่ยนกันนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ข้อความการร้องขอ (HTTP Request Message) และข้อความการตอบกลับ (HTTP  Response Message)
FTP (File Transfer Protocol) เป็นโปรโตคอลสำหรับถ่ายโอนไฟล์ระหว่างสองเครื่อง โปรโตคอล FTP นั้นมีมาพร้อมกับอินเตอร์เน็ตในสมัยแรกๆ และยังเป็นโปรโตคอลที่นิยมในปัจจุบัน FTP ถูกอธิบายใน RFC 959 ดังรูปที่ 2.52 ซึ่งแสดงลักษณะการถ่ายโอนไฟล์ระหว่างเครื่องด้วย FTP
โดยทั่วไปแล้วเมื่อผู้ใช้ต้องการถ่ายโอนไฟล์ระหว่างเครือข่าย  ผู้ใช้ก็จะต้องเปิดโปรแกรม FTP ซึ่งสิ่งที่ผู้ใช้ต้องระบุในการเชื่อมต่อครั้งแรกคือ ชื่อหรือที่อยู่ของ FTP เซิร์ฟเวอร์ พร้อมทังชื่อล็อกอินและรหัสผ่าน หลลังจากนั้นไคลเอนท์จะสร้างการเชื่อมต่อ TCP กับเซิร์ฟเวอร์ และส่งข้อมูลเกี่ยวกับล็อกอินเพื่อเซิร์ฟเวอร์จะได้ตรวจสอบสิทธิ์ของผู้ใช้ และถ้าตรวจสอบสิทธิ์ผ่านผู้ใช้ก็สามารถอัพโหลดไฟล์ หรือดาวน์โหลดไฟล์ระหว่างเครื่องของผู้ใช้และเซิร์ฟเวอร์ได้
โปรโตคอล FTP และ HTTP มีหลายอย่างที่เหมือนกัน เช่น ทั้งสองเป็นโปรโตคอลสำหรับถ่ายโอนไฟล์และนอกจากกนี้ใช้การเชื่อมต่อแบบ TCP เหมือนกัน อย่างไรก็ตามทั้งสองโปรโตคอลมีข้อแตกต่างที่สำคัญคือ โปรโตคอล FTP จะใช้การเชื่อมต่อ TCP ที่ขนานกันสองการเชื่อมต่อ การเชื่อมต่อแรกใช้สำหรับการควบคุมการถ่ายโอนไฟล์ (Control Connection)
                                                                    ส่วนการเชื่อมต่อที่สองจะใช้สำหรับการถ่ายโอนข้อมูลหรือไฟล์ (Data Connection) ช่องการเชื่อมต่อข้อมูลนั้นจะใช้สำหรับการส่งข้อมูล หรือคำสั่งที่ใช้สำหรับควบคุมการถ่ายโอนไฟล์ระหว่างโฮสต์ เช่น  ชื่อล็อกอิน  รหัสผ่าน  คำสั่งสำหรับการเปลี่ยนไดเร็คทอรี  หรือคำสั่งสำหรับการอัพโหลดไฟล์ (put) และคำสั่งสำหรับการดาวน์โหลดไฟล์ (get) เป็นต้น  ส่วนช่องการเชื่อมต่อข้อมูลนั้นก็ใช้สำหรับการถ่ายโอนไฟล์  ส่วนโปรโตคอล HTTP นั้นจะใช้การเชื่อมต่อเดียวสำหรับทั้งรับส่งข้อมูลการควบคุมและไฟล์เว็บเพจ  รูปที่ 2.53 แสดงช่องการเชื่อมต่อของ FTP
 ช่องควบคุมและช่องการถ่ายโอนไฟล์ของ  FTP
กระบวนการของการถ่ายโอนไฟล์ด้วย FTP นั้นจะเริ่มจากไคลเอนท์สร้างการเชื่อมต่อ TCP กับทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์ผ่านทางพอร์ต 21 ซึ่งการเชื่อมต่อนี้เป็นช่องสำหรับการรับส่งข้อมูลการควบคุมการถ่ายโอนไฟล์ เมื่อสร้างการเชื่อมต่อสำหรับต่อไปทางฝังไคลเอนท์ก็จะส่งข้อมูลล็อกอิน เช่น ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านไปให้ทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์ตรวจสอบสิทธิ์ เมื่อเซิร์ฟเวอร์ตรวจสอบสิทธิ์ผ่านไคลเอนท์ก็สามารถดาวน์โหลด หรืออัพโหลดไฟล์ได้ ซึ่งมีขขั้นตอนดังนี้ เช่น เมื่อไคลเอนท์ต้องการดาวน์โหลดไฟล์ไคลเอนท์ก็ส่งข้อมูลเกี่ยวกับไฟล์นั้นไปให้ทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์ผ่านทางพอร์ต 21  เมื่อเซิร์ฟเวอร์ได้รับการร้องขอก็จะสร้างการเชื่อมต่อใหม่โดยใช้พอร์ต 20 กับ

อธิบายรูปแบบโครงสร้างและหน้าที่การทำงานของโปรโตคอน

โครงสร้างของระบบ DNS นั้นจะเป็นแบบมีลำดับชั้น (Hierarchy) ดังรูป
 โครงสร้างของระบบ  DNS
  1. Root  Domain : ลำดับสูงสุดของระบบโดเมนคือ รูทโดเมน (Root  Domain) ทุก ๆ โดเมนจะรู อยู่ภายใต้รูทโดเมนหมด  ดังนั้นรูทโดเมนจึงเป็นส่วนที่สำคัญมากของระบบ DNS ในระบบอินเทอร์เน็ตนั้นรูทโดเมนประกอบด้วยเซิร์ฟเวอร์ 7 เครื่อง
  2. Top-Level  Domain : ระดับโดเมนที่รองลงมาจากรูทโดเมนจะเรียกว่า โดเมนระดับหนึ่ง (Top-Level  Domain) โดเมนในระดับนี้จะถูกกำหนดให้โดยประเภทขององค์กรและประเทศโดเมนในระดับนี้จะมีคนแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ  โดเมนขององค์กร โดเมนของประเทศ และโดเมนการแปลงกลับ
  3. Second- Level  Domain : สำหรับโดเมนระดับรองรองลงมาจากท็อปเลเวลนี้เป็นโดเมนที่แจกจ่ายให้กับองค์กรหรือบุคคลที่ต้องการชื่อโดเมน
2  โดเมนแบ่งตามหน้าที่ขององค์กร
โดเมนในระดับหนึ่งนี้จะอยู่ถัดจากรูทโดเมน แต่ละโดเมนจะใช้โค้ดที่เป็นตัวอักษร 2-4 ตัวเพื่อบ่งบอกจุดประสงค์หรือหน้าที่หลักขององค์กรนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น .COM เป็นโดเมนในระดับนี้
2.1  โดเมนของประเทศ
        นอกจากในการตั้งชื่อโดเมนให้เหมาะกับประเภท หรือหน้าที่ขององค์กรแล้ว  การตั้งชื่อโดเมนยังใช้ประเทศในการแบ่ง ซึ่งจะใช้ตัวอักษร 2 ตัวเป็นการบอกชื่อ
                                           โดเมนประเทศ

โดเมน
ประเทศ
.thไทย
.ukอังกฤษ
.auออสเตรเลีย
.jpญี่ปุ่น
.krเกาหลี
ชื่อโดเมนยังจะสามารถใช้แบบผสมระหว่างทั้งสองประเภท ที่กล่าวข้างต้น  โดยโดเมนที่บ่งบอกประเทศจะอยู่ขวาสุด และถัดมาจะเป็นตัวอักษร 2-3 ตัวของโดเมนที่บอกประเภทขององค์กร เช่น .co + .th จะได้โดเมนเป็น  .co.th  หมายความว่าเป็นโดเมนของบริษัทหนึ่งที่อยู่ในประเทศไทย
3  ประเภทของ DNS เซิร์ฟเวอร์
ข้อมูลที่เก็บไว้ใน DNS เซิร์ฟเวอร์แต่ละเครื่องจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับหน้าที่ หรือประเภทของ DNS เซิร์ฟเวอร์นั้น หน้าที่ของเซิร์ฟเวอร์นั้นจะเป็นสิ่งที่กำหนดว่าข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์อย่างไร  โดย DNS เซิร์ฟเวอร์แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
3.1  Primary  Name  Server
เนมเซิร์ฟเวอร์หลัก(Primary  Name  Server) คือ เซิร์ฟเวอร์ที่อ่านข้อมูลเกี่ยวกับคอนฟิกูเรชันจากไฟล์ที่เก็บอยู่ในเครื่องนั้น การเปลี่ยนแปลงข้อมูลของโซน เช่น การเพิ่มเร็คคอร์ดต่าง ๆ จะต้องทำที่เนมเซิร์ฟเวอร์หลักเท่านั้น
3.2  Secondary  Name  Server
เนมเซิร์ฟเวอร์รอง (Secondary  Name  Server) จะถ่ายโอนข้อมูลของโซนจากเนมเซิร์ฟเวอร์เครื่องอื่นซึ่งอาจเป็นเนมเซิร์ฟเวอร์หลัก หรือเนมเซิร์ฟเวอร์รองก็ได้
 กระบวนการถ่ายโอนข้อมูลเกี่ยวกับโซนนี้จะเรียกว่า“โซนทรานสอร์ (Zone  Transfer)” การมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์รองนั้นมีประโยชน์ดังนี้
  1. Redundancy : แต่ละโซนจะต้องมีเนมเซิร์ฟเวอร์หลักหนึ่งเครื่อง และเซิร์ฟเวอร์รองหนึ่งเครื่อง  เซิร์ฟเวอร์รองจะทำหน้าที่แทนเซิร์ฟเวอร์หลักเมื่อเซิร์ฟเวอร์หลัก
  2.  Distribution :เซิร์ฟเวอร์รองควรตั้งอยู่คนละที่กับเนมเซิร์ฟเวอร์หลัก หรือที่ที่มีไคลเอนท์มากพอสมควร  เพื่อเป็นการช่วยลดปริมาณแพ็กเก็ตที่ต้องวิ่งผ่านระบบ WAN เนื่องจากเนมเซิร์ฟเวอร์รองก็ทำหน้าที่เหมือนกับเนมเซิร์ฟเวอร์หลัก
  3. Load  Balancing : การใช้เนมเซิร์ฟเวอร์รองนั้นจะช่วยแบ่งเบาโหลดของเนมเซิร์ฟเวอร์หลักได้ ซึ่งจะช่วยให้เวลาในการโพรเซสและตอบกลับ (Response  Time) เร็วขึ้น
 3.3  Master  Name  Server
มาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์ (Master  Name  Server) เป็นแหล่งข้อมูลโซนของเซิร์ฟเวอร์รอง ดังนั้นเมื่อมาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์อาจจะเป็นเนมเซิร์ฟเวอร์หลักก็ได้ หรือเนมเซิร์ฟเวอร์รองก็ได้ เมื่อเปิดเนมเซิร์ฟเวอร์รองครั้งแรกทำการติดต่อกับมาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์เพื่อทำโซนทรานสเฟอร์         สำหรับในแต่ละโซนที่เซิร์ฟเวอร์นี้จะทำหน้าที่เป็นเนมเซิร์ฟเวอร์รอง
โซนทรานสเฟอร์จะเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ หรือเมื่อใดก็ตามที่ข้อมูลเปลี่ยนแปลงบนมาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์
3.4  Forwarders  and  Slaves
เมื่อเนมเซิร์ฟเวอร์ได้รับการตอบถาม (Query) เข้ามา เครื่องนั้นก็จะทำการตรวจตอบข้อมูลเกี่ยวกับโซนนั้นในเซิร์ฟเวอร์นั้นก่อน แต่ถ้าเซิร์ฟเวอร์นั้นไม่มีข้อมูลอยู่ หรือไม่มีข้อมูลที่เป็นต้นฉบับ (Non-Authoritative) ของโซนนั้น มันก็จะทำการติดต่อกับเนมเซิร์ฟเวอร์เครื่องอื่น
โดยส่วนใหญ่แล้วกรณีนี้จะเกิดขึ้นเมื่อโซนที่สอบถามมานั้น ไม่อยู่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน DNS จะกำหนดให้เนมเซิร์ฟเวอร์เครื่องหนึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องส่งต่อ (Forwaeder) เพื่อทำหน้าที่ร้องขอข้อมูลไปยังเนมเซิร์ฟเวอร์อื่นที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต และส่งผลที่ได้กลับไปยังเนมเซิร์ฟเวอร์ที่ทำการร้องขอมา  ถ้าเครื่องฟอร์เวิลด์เดอร์ไม่สามารถกลับไปร้องขอได้ เนมเซิร์ฟเวอร์ที่ร้องขอมาจะต้องตัดสินเองว่าจะตอบการร้องขออย่างไร การที่เนมเซิร์ฟเวอร์จะตอบ
การร้องขอเอง ในกรณีที่ฟอร์เวิลด์เดอร์ไม่ทำงาน จะเรียกว่าเป็น “นอนเอ็กซ์กลูชีพโหมด (Nonexclusive  Mode)”
 3.5  Caching-only  Name  Server
ดีเอ็นเอสเซิร์ฟเวอร์ จะทำการเก็บเร็คคอร์ดของโซนที่ได้รับการตอบกลับแล้วไว้ในแคชเป็นเวลาช่วงหนึ่ง ซึ่งถ้าเซิร์ฟเวอร์นี้ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับโซนที่เก็บไว้ในรูปไฟล์ จะเรียกว่า “แคชชิ่งโอนลีเนมเซิร์ฟเวอร์  (Caching-only  Name  Server)”  ดังนั้นมันจึงไม่มีการทำ
โซนทรานสเฟอร์
ในตอนแรกที่แคชชิ่งเซิร์ฟเวอร์ทำงาน ในเซิร์ฟเวอร์จะไม่มีข้อมูลใด ๆ เลยดังนั้นมันจึงทำการส่งต่อการร้องขอทั้งหมดไปยังเนมเซิร์ฟเวอร์เครื่องอื่น  ในขณะเดียวกันก็ทำการเก็บข้อมูลการร้องขอต่าง ๆ ที่ได้รับการตอบกลับมาไว้ในแคช ครั้งต่อไปที่มีการร้องขอที่เหมือนกันมันก็สามารถตอบกลับได้ทันที  ในตอนแรกนั้นแคชเซิร์ฟเวอร์จะรับส่งข้อมูลในปริมาณที่มาก  เนื่องจากตอนแรกยังไม่มีข้อมูลอยู่ในแคชเลย แต่เนื่องจากแคชชิ่งเซิร์ฟเวอร์ไม่ต้องทำโซนทรานสเฟอร์  ดังนั้นปริมาณแพ็กเก็ตก็จะน้อยลงเมื่อถึงช่วงเวลาหนึ่ง
4  ขั้นตอนการทำงานของ  DNS
กระบวนการในการร้องขอ (Query) ของระบบ DNS จะมีด้วยกัน  3  วิธีคือ รีเคอร์ชีพ (Recursive) , อินเตอร์แอ็คทีฟ (Interactive) และอินเวอร์ส (Inverse)
การร้องขอแบบรีเคอร์ชีพและอินเตอร์แอ็คทีฟ
โดยปกติการร้องขอแบบรีเคอร์ชีพ  (Recursive  Query) จะเกิดขึ้นระหว่างไคลเอนท์และเนมเซิร์ฟเวอร์  การที่เนมเซิร์ฟเวอร์ได้รับการรร้องขอแบบนี้จะตอบกลับด้วยข้อมูลที่เกี่ยวกับโดนเมนนั้น หรืออาจตอบกลับเป็นข้อความที่บอกการผิดพลาดถ้าข้อมูลของโดเมน หรือโฮสต์นั้นไม่มีระบบ เนมเซิร์ฟเวอร์ที่ได้รับการร้องขอแบบรีเคอร์ชีพนี้  จะรับผิดชอบเกี่ยวกับการค้นหาข้อมูลของโดเมนหรือโฮสต์ โดยจะไม่สามารถส่งต่อเพื่อการร้องขอให้เนมเซิร์ฟเวอร์อื่นได้  อย่างไรก็ตามเนมเซิร์ฟเวอร์สามารถร้องขอแบบอินเตอร์แอ็คทีฟ (Interactive) กับเนมเซิร์ฟเวอร์อื่นได้

โครงสร้างและกาทำงาน

อย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  โปรโตคอลโฮสต์ทูโฮสต์เลเยอร์ (Host to Host Layer) นี้จะประกอบด้วย  2  โปรโตคอลคือ  TCP (Transmission  Control Protocol) UDP (User  Datagram Protocol) ซึ่งเป็นโปรโตคอลแต่ละตัวจะบริการแตกต่างกัน และมีข้อดีข้อเสียต่างกัน โปรโตคอลทั้งสองตัวมีรายละเอียดดังนี้
1  Transmission Control Protocol (TCP)
โปรโตคอล TCP (Transmission  Control Protocol) เป็นโปรโตคอลที่ให้บริการแบบคอนเน็กชันโอเรียนเต็ด  (Connection-Oriented) ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ TCP จะส่งข้อมูลทั้งหมดจนสำเร็จ  ซึ่งถ้าข้อมูลมีขนาดใหญ่ก็จะถูกแบ่งย่อยเป็นหลายแพ็กเก็ต  โปรโตคอล TCP จะทำหน้าที่ควบคุมการรับส่งแพ็กเก็ตข้อมูลย่อย ๆ เหล่านี้  สำหรับกลไกในการควบคุมการไหลของข้อมูลมีรายละเอียดดังนี้
2  การจัดการเกี่ยวกับเซสชั่น
เนื่องจาก TCP เป็นโปรโตคอลที่ให้บริการแบบคอนเน็กชันโอเรียนเต็ด  ดังนั้นก่อนการจะส่งข้อมูลจำเป็นที่จะต้องสร้างเซสชั่นเพื่อเชื่อมต่อกับโฮสต์ปลายทางก่อนเซสชั่นเป็นการสร้างการสนทนาอย่างเป็นรูปแบบระหว่างทั้งสองโฮสต์เพื่อใช้สำหรับการกู้คืนข้อมูล เมื่อเกิดข้อผิดพลาดระหว่างการรับส่งข้อมูล ขั้นตอนในการสร้างเซสชั่นจะมีอยู่  3  ขั้นตอนซึ่งบางทีก็เรียกว่า  “ทรีเวย์แฮนเช็ค (Three – Way  Handshake)
  1. โฮสต์ที่ต้องการส่งข้อมูลจะส่งแพ็กเก็ตไปยังโฮสต์ปลายทาง เพื่อแจ้งให้ทราบว่าต้องการส่งข้อมูล
  2. โฮสต์ปลายทางก็จะตอบตกลงมา พร้อมทั้งรหัสที่จะใช้ในการรับส่งข้อมูล
  3. โฮสต์ต้นทางก็จะส่งแพ็กเก็ตพร้อมรหัสที่ได้รับ เพื่อเป็นการยืนยันการเชื่อมต่อ
หลังจากที่ได้มีการสร้างเซสชั่นสำเร็จแล้วถึงเริ่มขบวนการรับ – ส่งข้อมูลจริงๆ ซึ่งในการรับส่งข้อมูลในแต่ละครั้งก็จะมีการยืนยันการรับส่งข้อมูลจากโฮสต์ปลายทางทุกครั้ง  เมื่อรับส่งข้อมูลเสร็จก็เป็นขั้นตอนการยกเลิกการเซสชั่น ซึ่งจะคล้าย ๆ กับการสร้างเซสชั่น
3  การควบคุมการไหลเวียนและกู้คืนข้อมูล
ในแต่ละเซสชั่น  โฮสต์ฝ่ายรับต้องตอบกลับทุก ๆ แพ็กเก็ตที่ได้รับภายในเวลาที่กำหนด  เพื่อเป็นการยืนยันการรับข้อมูลทุก ๆ แพ็กเก็ตที่ส่ง  ฝ่ายรับจะทำการเช็คความถูกต้องของแพ็กเก็ตข้อมูลทุกครั้ง และแจ้งให้ทราบถึงการตรวจตอบนั้น ถ้าฝ่ายส่งไม่ได้รับการตอบรับจากฝ่ายรับภายในเวลาที่กำหนด   ฝ่ายรับก็จะคาดเอาว่าแพ็กเก็ตสูญหายระหว่างทาง  ฝ่ายรับก็จะทำการส่งแพ็กเก็ตนั้นให้ใหม่อีกครั้ง  เพื่อจะทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลทุก ๆ แพ็กเก็ตส่งถึงปลายทางอย่างสมบูรณ์ 
ข้อมูลในส่วนหัวของโปรโตคอล TCP จะประกอบด้วยข้อมูลมากที่สุด  20  ไบต์  และประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ซึ่งมีฟิลด์มีความหมายดังนี้
  1. TCP  Source  Port  (16 บิต) : ส่วนนี้จะเป็นหมายเลขพอร์ตที่เป็นจุดเริ่มการสื่อสาร หมายเลขพอร์ตเมื่อรวมกับหมายเลข IP จะเป็นที่อยู่ของการส่งข้อมูลกลับ
  2. TCP  Destination Port  (16 บิต) : เป็นหมายเลขพอร์ตเครื่องรับ  ซึ่งพอร์ตนี้จะเป็นพอร์ตที่ใช้เชื่อมต่อกับแอพพลิเคชันที่จะนำข้อมูลที่ส่งไปให้นี้ไปโพรเซสต่อไป
  3. TCP  Sequence  Number  (32 บิต) : เป็นหมายเลขที่บอกลำดับแพ็กเก็ตที่จะใช้ โดยฝั่งเครื่องรับในการเรียงข้อมูลให้อยู่ในรูปเดิมในการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายที่สลับซับซ้อนนั้นแพ็กเก็ตแต่ละชุดอาจจะถูกส่งไปบนเส้นทางที่ต่างกัน  ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่แพ็กเก็ตจะเดินทางมาถึงปลายทางไม่เป็นไปตามลำดับที่ส่ง หมายเลขนี้จะใช้ในการจัดเรียงแพ็กเก็ตเหล่านี้ให้อยู่ในลำดับเดิม
  4. TCP  Acknowledgement  Number   (32 บิต) : เป็นหมายเลขลำดับแพ็กเก็ตถัดไปที่ทางฝั่งรับคาดหวัง ซึ่งเป็นการบอกเป็นนัยว่าแพ็กเก็ตที่มีหมายเลขลำดับก่อนหน้านี้ได้รับหมดแล้วนั่นเอง
  5. Data  Offset  (4 บิต) : เป็นตัวเลขที่บอกขนาดของข้อมูลส่วนหัว (TCP Header) ซึ่งมีหน่วยเป็น  32  บิต หรือ Word
  6. Reserved  (6 บิต) : ส่วนนี้จะถูกกำหนดให้เป็นศูนย์ตลอด ซึ่งข้อมูลส่วนนี้ไม่มีความหมายอะไรเพียงแต่เป็นการสงวนไว้ใช้ในอนาคตเมื่อมีการปรับปรุงโปรโตคอล 
  7. Flags  (6 บิต) : เป็นข้อมูลที่ใช้สำหรับควบคุมการรับส่งแพ็กเก็ต
  8. Window  Size  (16 ) : เป็นตัวเลขที่เครื่องปลายทางบอกให้เครื่องต้นทางทราบขนาดวินโดว์ของเครื่องปลายทางสามารถรับรู้ได้
  9. Checksum (16) : เป็นข้อมูลที่ใช้ในการตรวจสอบข้อผิดพลาดของข้อมูลในส่วนหัว  โดยเครื่องส่งจะทำการคำนวณค่า เช็คซัม (Checksum) ของข้อมูลส่วนหัว เมื่อเครื่องปลายทางได้รับข้อมูลก็จะทำการคำนวณเช็คซัมด้วยวิธีเดียวกัน แล้วทำการเปรียบเทียบข้อมูลค่าที่คำนวณได้กับค่าที่อยู่ในฟิลด์นี้ ถ้าเหมือนกันแสดงว่าไม่มีข้อผิดพลาดในข้อมูลที่ได้รับ
  10. Padding : เป็นข้อมูลที่เพิ่มเพื่อให้ข้อมูลส่วนหัวมีจำนวนบิตที่หารด้วย  32  ลงตัว

อธิบายรูปแบบโครงสร้างและหน้าที่การทำงานของโปรโตคอน

สถาปัตยกรรมชุดโปรโตคอล TCP/IP


 ในขณะที่สถาปัตยกรรมรูปแบบ OSI ยังไม่พร้อมสำหรับการใช้งานในการสื่อสารข้อมูลในเครือ
ข่ายกันจริง ๆ กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาหรือ DOD (The U.S. Department of Defend) ใน เวลานั้นได้มีการกำหนด และเริ่มใช้รูปแบบสถาปัตยกรรม และโปรโตคอลสำหรับระบบเครือข่ายระดับ WAN (Wide Area Network) ที่ DOD ได้ทำการพัฒนาขึ้นมาใช้เอง ซึ่งก็คือสถาปัตยกรรม ARPANET และ โปรโตคอล TCP/IP เพื่อใช้ในการเชื่อมโยงโฮสต์คอมพิวเตอร์ที่มีความหลากหลายแตกต่างกัน และอยู่ห่าง ไกลกันให้สามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลกันได้ และผลการใช้งานก็เป็นที่น่าเป็นที่น่าพอใจอย่างมากเพียงแต่ว่า ARPANET ยังนับว่าเป็นสถาปัตยกรรมเครือข่ายระดับ WAN ที่ใช้สำหรับการทหารมากกว่าที่จะใช้ในทาง ด้านธุรกิจหรือสาธารณะ
 และเนื่องจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(PC) ทำให้ DOD ต้องการที่จะ
พัฒนารูปแบบของสถาปัตยกรรมและโปรโตคอลสำหรับเครือข่ายระดับท้องถิ่น (LAN) ขึ้นมาใช้เองด้วยเหตุผล
หลัก 3 ประการคือ
 1. เพราะ DOD ต้องการรูปแบบสถาปัตยกรรมและโปรโตคอลที่สามารถใช้งานได้จริง ๆ
 2. DOD มีข้อกำหนดลักษณะของเครือข่ายที่พิเศษเฉพาะออกไปจากเครือข่ายของระบบเปิด
 3. DOD ต้องการรูปแบบสถาปัตยกรรมและโปรโตคอลของเครือข่ายที่ง่ายและไม่ซับซ้อน
 สำหรับเหตุผลข้อที่ 1 และข้อที่ 2 คือเหตุผลความจำเป็นส่วนตัว สำหรับข้อ3 เป็นเหตุผลของ
การแตกต่างในรูปแบบของสถาปัตยกรรมแบบ OSI กับ สถาปัตยกรรมแบบ TCP/IP หรือเรียกว่า ชุด โปรโตคอล TCP/IP กับสถาปัตยกรรมรูปแบบ OSI กันก่อนที่เราจะศึกษากันในเรื่องของโปรโตคอล TCP/IP
 

ข้อแตกต่างระหว่างชุดโปรโตคอล TCP/IP และรูปแบบ OSI

 ระหว่างชุดโปรโตคอล TCP/IP กับรูปแบบ OSI นั้นมีความสำคัญ ๆ ที่แตกต่างกันอยู่ 4 อย่างคือ
 1. ลำดับการติดต่อสื่อสารของชั้นเลเยอร์ ทั้งชุดโปรโตคอล TCP/IP และรูปแบบ OSI จะมีการจัด
แบ่งการสื่อสารข้อมุลออกเป็นเอนทิตี้ ๆ เพื่อง่ายต่อการจับคู่การสื่อสารระหว่างเอนทิตี้ของระบบหนึ่งกับอีกระบบ หนึ่ง แต่จุดที่แตกต่างกันก็คือในรูปแบบ OSI นั้นจะกำหนดลำดับ ชั้นการสื่อสารที่เป็นลำดับขั้นตอนการติดต่อ ที่แน่นอน โดยเฉพาะการอินเตอร์เฟซระหว่างชั้นเลเยอร์ ซึ่งทำให้รูปแบบ OSI สามารถเป็นระบบเปิดสำหรับ ระบบคอมพิวเตอร์ทั่วไป เพราะว่าไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลในเลเยอร์ชั้นใดก็ตาม จะไม่มีผล กระทบต่อการสื่อสารกับเลเยอร์ชั้นถัดไป ในขณะที่ชุดโปรโตคอล TCP/IP จะไม่มีการกำหนดรูปแบบการติด ต่อที่ตายตัว เพื่อให้ผู้ออกแบบเครือข่ายมีอิสระสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเครือข่ายได้ง่าย
 เพื่อสร้างความเข้าใจยิ่งขึ้น จึงจะขออธิบายการติดต่อการสื่อสารเป็นลำดับชั้นของเลเยอร์ ในรูป
แบบ OSI ว่ากำหนดเป็นลำดับที่แน่นอนอย่างไร ดังนี้
 - ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเอนทิตี้ N จะต้องกระทำโดยผ่านทางเอนทิตี้ N-1 (เอนทิตี้ลำดับ
ล่างติดกัน)
 - เอนทิตี้ N-1 จะเป็นผู้ควบคุมการแลกเปลี่ยนข่าวสารและข้อมูลจากเอนทิตี้ N
 - ข้อมูลจากเอนทิตี้ N ที่ต้องการจะแลกเปลี่ยนกับระบบอื่น จะถูกส่งออกจากระบบในรูปของข้อมูล
ของเอนทิตี้ N-1
 ส่วนในชุดโปรโตคอล TCP/IP จะไม่มีการกำหนดการติดต่อสื่อสารอย่างเข้มงวดเช่นในรูปแบบ
OSI กล่าวคือ
 - เอนทิตี้ N อาจจะติดต่อสื่อสารข้อมูลโดยผ่านเอนทิตี้ลำดับล่างที่ติดกันหรือไม่ก็ได้
 - การควบคุมการแลกเปลี่ยนข่าวสาร และข้อมูลอาจจะกระทำในเอนทิตี้ลำดับบน หรือเอนทิตี้
ลำดับล่าง (ซึ่งไม่จำเป้นจะต้องเป็นลำดับล่างติดกัน) ก็ได้
 ดังนั้น จะเห็นได้ว่าในการติดต่อแลกเปลี่ยนข่าวสารในรูปแบบ OSI นั้นการอินเตอร์เฟซระหว่าง
เอนทิตี้ N กัน เอนทิตี้ N-1 จะถูกกำหนดอย่างแน่นอนตายตัว ในขณะที่ชุดโปรโตคอล TCP/IP จะให้ความยืด หยุ่นในการสื่อสารข้อมูลมากกว่า
 2. การสื่อสารระหว่างเครือข่ายหรือการอินเตอร์เนต (InterNet) คือ การติดต่อสื่อสารข้อมูล
ระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ 2 ระบบที่ไม่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยผ่านทางเครือข่ายการสื่อสารข้อมูล เพียงเครือข่ายเดียวได้ ต้องอาศัยเครือข่ายตั้งแต่ 2 เครือข่ายขึ้นไปในการติดต่อสื่อสารกัน และเครือข่ายเหล่า นี้อาจจะมีลักษณะของเครือข่ายที่ต่างกันก็ได้
 ความแตกต่างในเรื่องของอินเตอร์เนตระหว่างชุดโปรโตคอล TCP/IP กับรูปแบบ OSI ก็คือในชุด
โปรโตคอล TCP/IP จะใช้โปรโตคอลสำหรับอินเตอร์เนตที่เรียกว่า โปรโตคอล IP (Intenet Protocol) ซึ่งใน รูปแบบ OSI จะเรียกโปรโตคอลสำหรับการอินเตอร์เนตว่า โปรโตคอล Network
 3. การบริการเชื่อมต่อการสื่อสาร (Connection Service) ในชุดโปรโตคอล TCP/IP นั้นจะมี
การบริการการเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างต้นทางและปลายทาง 2 แบบ คือการบริการแบบ Connectionless และแบบ Connection oriented ส่วนในรูปแบบ OSI จะให้ความสำคัญเฉพาะบริการแบบ Connection - oriented เท่านั้น
 ในการบริการแบบ Connection-oriented ของชุดโปรโตคอล TCP/IP โปรโตคอล TCP จะกำ-
หนดช่วงเวลา (Session) สำหรับการติดต่อยืนยันการส่ง-รับข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้ง 2 เครื่องเช่นเดียว กับการทำงานของโปรโตคอล Session ในรูปแบบ OSI ซึ่งทำให้โปรโตคอล TCP เป็นโปรโตคอลที่มีความ น่าเชื่อถือ(Reliable) เพราะให้ความแน่นอนว่าแพ็กเกจข้อมูลที่ถูกส่งออกไปจากต้นทางจะไปถึงยังปลายทาง อย่างเป็นลำดับ และไม่มีความผิดพลาด หรือสูญหายของข้อมุล
 สำหรับการบริการแบบ Connectionless ของโปรโตคอล จะมีลักษณะแบบเดียวกับโปรโตคอล
UDP (User Datagram Protocol) คือโปรโตคอลจะมีหน้าที่ควบคุมการส่ง - รับข้อมูลโดยไม่มีการรอคอย การยืนยันการตอบรับข้อมูลจากปลายทาง ทำให้บริการแบบนี้ให้ความน่าเชื่อถือน้อยกว่า แต่ก็ทำให้การสื่อสาร ข้อมูลรวดเร็วยิ่งขึ้นถ้าไม่มีความผิดพลาดเกิดขึ้นในการส่ง-รับข้อมูล


การบริการแบบ Connectionless ของโปรโตคอล UDP ไม่มีสัญญาณตอบรับ (ACK)

การบริการแบบ Connection-oriented ของโปรโตคอล TCP
เปรียบเทียบระหว่างโปรโตคอล TCP และโปรโตคอล Datagram
 4. โปรโตคอลควบคุมการจัดการสื่อสาร ในชุดโปรโตคอล TCP/IP จะใช้โปรโตคอล TCP
(Transmission Control Protocol) เป็นโปรโตคอลสำหรับควบคุมการสื่อสารออกจากกันโดยใช้โปรโตคอล Session และโปรโตคอล Transport ตามลำดับ

มีบทบาทและความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเรา

ปัจจุบันอินเตอร์เน็ต ได้เข้ามามีบทบาทและความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเรา ทั้งการศึกษา การพาณิชย์ ความบันเทิงและอื่นๆ ดังนี้
ด้านการศึกษา
1. สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชา หรืออ่านหนังสือออนไลน์
2. ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดออนไลน์
3. นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเตอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น
4. สามารถทำการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้ 1. ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
ด้านการพาณิชย์
1. ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
2. สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
3. ทำการตลาดการโฆษณาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
4. ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น
ด้านการบันเทิง
1. การพักผ่อนหย่อนใจ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อ่านหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ
2. การเล่นเกมออนไลน์
3. สามารถฟังวิทยุหรือดูการถ่ายทอดสดผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
4. สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่า มาดูได้
            
          นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ในระบบอินเตอร์เน็ตยังมีบริการอื่นๆ อีกมากมาย พอจะสรุปได้ว่า อินเตอร์เน็ต มีความสำคัญ ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย การติดต่อสื่อสารที่สะดวก และรวดเร็ว แหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลก อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับงานไอที ทำให้เกิดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็ว ช่วยในการตัดสินใจ และบริหารงานทั้งระดับบุคคลและองค์กร
                บทบาทของอินเตอร์เน็ตและอนาคตของอินเตอร์เน็ต
ในปัจจุบันอินเตอร์เน็ตยังถือเป็นช่องทางกระจายสินค้าหรือตลาดได้อีกทางหนึ่ง โดยการซื้อขายผ่านเว็บเพจและทำการจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต
        การซื้อข่ายผ่านอินเตอร์เน็ตมีการเติบโตรวดเร็วเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการโชว์สินค้าต่ำกว่าวิธีอื่นๆ แต่ก็อาจมีข้อเสียคือผู้บริโภคไม่สามารถตรวจสอบสินค้าได้จริง ถึงแม้ว่าในทางการค้ายังไม่เติบโตอย่างที่คาดไว้
อินเตอร์เน็ตก็มีผลต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก เนื่องจากนักเรียนสามารถเรียนรู้และโต้ตอบกับครูในระยะไกลๆ ได้เป็นอย่างดี ในปัจจุบันนี้มีมหาวิทยาลัยหลายแห่งที่มีเปิดหลักสูตรปริญญาโทและเอกโดยการเรียนผ่านอินเตอร์เน็ต ทางการแพทย์และสาขาวิชาชีพอื่นๆ ก็ได้รับประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตมากเช่นกัน เนื่องจากอินเตอร์เน็ตได้ช่วยลดความห่างไกลกัน ผู้คนสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ง่ายขึ้นเหมือกับอยู่ที่แห่งเดียวกัน
        อินเตอร์เน็ตจะมีบทบาทมากขึ้นในชีวิตประจำวันของทุกคน และจะมีอิทธิพลอย่างมากในโลกยุคต่อไป เนื่องจากอินเตอร์เน็ตจัดเป็นสื่อชนิดหนึ่งมันจึงมีอิทธิพลกับทุกๆ คนเหมือนกับวิทยุ โทรทัศน์และหนังสือพิมพ์
        ดังที่เราจะเห็นได้จากบริษัทและหน่วยงานองค์กรแทบทั้งหมดจะมีโฮมเพจเป็นของตนเองเพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลขององค์กรอย่างละเอียดในอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตจะมีผลกระทบต่อทุกคนในทุกสาขาอาชีพ และจะเป็นสิ่งหนึ่งซึ่งช่วยให้เกิดการไหลของกระแสดวัฒนธรรมอย่างรวดเร็วในโลกสมัยใหม่ จึงทำให้ผู้ที่มีการศึกษาทุกคนจำเป็นต้องศึกษาอินเตอร์เน็ตเพื่อให้สามารถก้าวทันโลกได้
        สิ่งที่ชี้ให้เห็นได้ชัดว่าอินเตอร์เน็ตได้ก้าวเข้ามาในชีวิตของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนคือ ในขณะนี้อินเตอร์เน็ตได้ถูกผนวกเข้ากับระบบปฏิบัติการที่ยอดนิยมที่สุดแล้ว ทำให้ Windows 98 สามารถจะใช้งานอินเตอร์เน็ตได้เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของตัวโปรแกรมอย่างสมบูรณ์.

สถาปัตยกรรมรูปแบบ OSI



สถาปัตยกรรมเครือข่ายรูปแบบ OSI


ในปี ค.ศ. 1977 องค์กร ISO (international Oraganization for Standard)ได้จัดตั้งคณะ
กรรมการขึ้นกลุ่มหนึ่ง เพื่อทำการศึกษาจัดรูปแบบมาตราฐาน และพัฒนาสถาปัตยกรรมเครือข่าย และใน ปี ค.ศ. 1983 องค์กร ISO ก็ได้ออกประกาศรูปแบบของสถาปัตยกรรมเครือข่ายมาตราฐานในชื่อของ "รูปแบบ OSI " (Open System Interconnection Model) เพื่อใช้เป็นรูปแบบมาตราฐานในการเชื่อมต่อระบบ คอมพิวเตอร อักษร์ "O" หรือ "Open" ก็ หมายถึง การที่คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งสามารถ "เปิด" กว้างให้คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์อื่นที่ใช้มาตราฐาน OSI เหมือนกันสามารถติดต่อไปมาหา สู่ระหว่างกันได้ จุดมุ่งหมายของการกำหนดการแบ่งโครงสร้างของสถาปัตยกรรมเครือข่ายออกเป็นเลเยอร์ ๆ และกำหนดหน้าที่การทำงานในแต่ละเลเยอร์ รวมถึงกำหนดรูปแบบการอินเตอร์เฟซระหว่างเลเยอร์ด้วย โดยมีหลักเกณฑ์ในการกำหนดดังต่อไปนี้

1. ไม่แบ่งโครงสร้างออกเป็นเลเยอร์ ๆ มากเกินไป

2. แต่ละเลเยอร์จะต้องมีการทำงานแตกต่างกันทั้งขบวนการและเทคโนโลยี

3. จัดกลุ่มหน้าที่การทำงานที่คล้ายกันให้อยู่ในเลเยอร์เดียวกัน

4. เลือกเฉพาะการทำงานที่เคยใช้ได้ผลประสบความสำเร็จแล้ว

5. กำหนดหน้าที่การทำงานเฉพาะง่ายๆ แก่เลเยอร์ เผื่อว่าในอนาคตถ้ามีการออกแบบเลเยอร์
ใหม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลใหม่ในอันที่จะทำให้สถาปัตยกรรมมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น จะไม่มีผล ทำให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ที่เคยใช้อยู่เดิมจะต้องเปลี่ยนแปลง

6. กำหนดอินเตอร์เฟซมาตรฐาน

7. ให้มีการยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลในแต่ละเลเยอร์

8. สำหรับเลเยอร์ของแต่ละเลเยอร์ให้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับที่กล่าวมาใน 7 ข้อแรก


สถาปัตยกรรมรูปแบบ OSI

หน้าที่การทำงานของเลเยอร์แต่ละชั้นในสถาปัตยกรรม OSI

สถาปัตยกรรมรูปแบบ OSI ที่ได้ประกาศออกสู่สาธารณชนมีรูปแบบดังแสดงในรูปด้านบน และ
สถาปัตยกรรมรูปแบบ OSI สำหรับการสื่อสารผ่านเครือข่ายเป็นดังที่แสดงในรูปด้านล่าง รูปแบบ OSI มีการ แบ่งโครงสร้างของสถาปัตยกรรมออกเป็น 7 เลเยอร์ และในแต่ละเลเยอร์ได้มีการกำหนดหน้าที่การทำงานไว้ ดังต่อไปนี้
1. เลเยอร์ชั้น Physical เป็นชั้นล่างที่สุดของการติดต่อสื่อสาร ทำหน้าที่ส่ง-รับข้อมูลจริง ๆ จาก
ช่องทางการสื่อสาร (สื่อกลาง) ระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ มาตรฐานสำหรับ เลเยอร์ ชั้นนี้จะกำหนดว่าแต่ละคอนเนคเตอร์ (Connector) เช่น RS-232-C มีกี่พิน(pin) แต่ละพินทำหน้า ที่อะไรบ้าง ใช้สัญญาณไฟกี่โวลต์ เทคนิคการมัลติเพล็กซ์แบบต่างๆ ก็จะถูกกำหนดอยู่ในเลเยอร์ชั้นนี้
2. เลเยอร์ชั้น Data Link จะเป็นเสมือนผู้ตรวจสอบ หรือควบคุมความผิดพลาดในข้อมูลโดยจะ
แบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นแพ็กเกจหรือเฟรม ถ้าผู้รับได้รับข้อมูลถูกต้องก็จะส่งสัญญาณยืนยันกลับมาว่า ได้รับ ข้อมูลแล้ว เรียกว่า สัญญาณ ACK (Acknowledge) ให้กับผู้ส่ง แต่ถ้าผู้ส่งไม่ได้รับสัญญาณ ACK หรือได้รับ สัญญาณ NAK (Negative Acknowledge) กลับมา ผู้ส่งก็อาจจะทำการส่งข้อมุลไปให้ใหม่ อีกหน้าที่หนึ่ง ของเลเยอร์ชั้นนี้คือป้องกันไม่ให้เครื่องส่งทำการส่งข้อมูลเร็วจนเกินขีดความสามารถของเครืองผู้รับจะรับข้อ มูลได้
3. เลเยอร์ Network เป็นชั้นที่ออกแบบหรือกำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่จะส่ง-รับใน
การส่งผ่านข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง ซึ่งแน่นอนว่าในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารจะ ต้องมีเส้นทางการส่ง-รับข้อมูลมากกว่า 1 เส้นทาง ดังนั้นเลเยอร์ชั้น Network นี้จะทำหน้าที่เลือกเส้นทางที่ ใช้เวลาในการสื่อสารน้อยที่สุด และระยะทางสั้นที่สุดด้วย ข่าวสารที่รับมาจากเลเยอร์ชั้นที่ 4 จะถูกแบ่งออกเป็น แพ็กเกจ ๆ ในชั้นนี้
4. เลเยอร์ Transport บางครั้งเรียกว่า เลเยอร์ชั้น Host-to-Host หรือเครื่องต่อเครื่อง และจาก
เลเยอร์ชั้นที่ 4 ถึงชั้นที่ 7 นี้รวมกันจะเรียกว่า เลเยอร์ End-to-End ในเลเยอร์ชั้น Transport นี้เป็นการ สื่อสารกันระหว่างต้นทางและปลายทาง (คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์) กันจริง ๆ เลเยอร์ชั้น Transpot จะ ทำหน้าที่ตรวจสอบว่าข้อมูลที่ส่งมาจากเลเยอร์ชั้น Session นั้นไปถึงปลายทางจริง ๆ หรือไม่ ดังนั้นการกำ หนดตำแหน่งของข้อมูล(address) จึงเป็นเรื่องสำคัญในชั้นนี้ เนื่องจากจะต้องรู้ว่าใครคือผู้ส่ง และใครคือผู้รับ ข้อมูลนั้น
5. เลเยอร์ Session ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ โดยผู้ใช้จะใช้
คำสั่งหรือข้อความที่กำหนดไว้ป้อนเข้าไปในระบบ ในการสร้างการเชื่อมโยงนี้ผู้ใช้จะต้องกำหนดรหัสตำแหน่ง ของจุดหมายปลายทางที่ต้องมีการติดต่อสื่อสารด้วย เลเยอร์ชั้น Session จะส่งข้อมูลทั้งหมดให้กับเลเยอร์ชั้น Transport เป็นผู้จัดการต่อไป ในเครือข่ายทั้งเลเยอร์ Session และเลเยอร์ Transport อาจจะเป็นเลเยอร์ ชั้นเดียวกัน
6. เลเยอร์ Presentation ทำหน้าที่เหมือนบรรณารักษ์ กล่าวคือคอยรวบรวมข้อความ (Text) และ
แปลงรหัส หรือแปลงรูปแบบของข้อมูลให้เป็นรูปแบบการสื่อสารเดียวกัน เพื่อช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิด ขึ้นกันผุ้ใช้งานในระบบ
7. เลเยอร์ Application เป็นเลเยอรชั้นบนสุดของรูปแบบ OSI ซึ่งเป็นชั้นที่ใช้ติดต่อระหว่างผู้ใช้
โดยตรงซึ่งได้แก่ โฮสต์คอมพิวเตอร์ เทอร์มินัลหรือคอมพิวเตอร์ PC เป็นต้น แอปพลิเคชันในเลเยอรชั้นนี้ สามารถนำเข้า หรือออกจากระบบเครือข่ายได้โดยไม่จำเป็นต้องสนใจว่ามีขั้นตอนการทำงานอย่างไร เพราะจะ มีเลเยอร์ชั้น Presentation โดยตรงเท่านั้น

อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter Connection Network หมายถึง เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ต เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่าน
จุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง
อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน ถูกพัฒนามาจากโครงการวิจัยทางการทหารของกระทรวงกลาโหมของประเทศ สหรัฐอเมริกา คือAdvanced Research Projects Agency (ARPA) ในปี 1969 โครงการนี้เป็นการวิจัยเครือข่ายเพื่อ
การสื่อสารของการทหารในกองทัพอเมริกา หรืออาจเรียกสั้นๆ ได้ว่า ARPA Net ในปี ค.ศ. 1970 ARPA Net ได้มีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้นโดยการเชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของอเมริกา คือ มหาวิทยาลัยยูทาห์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส และสถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และหลังจากนั้นเป็นต้นมาก็มีการใช้ อินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น
สำหรับในประเทศไทย อินเทอร์เน็ตเริ่มมีการใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2530 ที่มหาวิยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้รับความช่วยเหลือจากโครงการ IDP (The International Development Plan) เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถติต่อสื่อสารทาง
อีเมลกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในออสเตรเลียได้ ได้มีการติดตั้งระบบอีเมลขึ้นครั้งแรก โดยผ่านระบบโทรศัพท์ ความเร็วของโมเด็มที่ใช้ในขณะนั้นมีความเร็ว 2,400 บิต/วินาที จนกระทั่งวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2531 ได้มีการส่งอีเมลฉบับแรกที่ติดต่อระหว่างประเทศไทยกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จึงเปรียบเสมือนประตูทางผ่าน (Gateway) ของไทยที่เชื่อมต่อไปยังออสเตรเลียในขณะนั้น
ในปี พ.ศ. 2533 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของสถาบันการศึกษาของรัฐ โดยมีชื่อว่า เครือข่ายไทยสาร (Thai Social/Scientific Academic and Research Network : ThaiSARN) ประกอบด้วย มหาวิยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตภายในประเทศ เพื่อการศึกษาและวิจัย
ในปี พ.ศ. 2538 ได้มีการบริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ขึ้น เพื่อให้บริการแก่ประชาชน และภาคเอกชนต่างๆ ที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยมีบริษัทอินเทอร์เน็ตไทยแลนด์ (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
(Internet Service Provider: ISP) เป็นบริษัทแรก เมื่อมีคนนิยมใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต
จึงได้ก่อตั้งเพิ่มขึ้นอีกมากมาย

วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีอินเตอรืเน็ต

เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
ในทางเศรษฐศาสตร์ มองเทคโนโลยีว่า เป็นความรู้ของมนุษย์ ณ ปัจจุบัน ในการนำเอาทรัพยากรมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ (รวมถึงความรู้ว่าเราสามารถผลิตอะไรได้บ้าง) ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จะเกิดขึ้นเมื่อความรู้ทางเทคนิคของเราเพิ่มขึ้น
เทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาเป็นเวลานาน เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แก้ปัญหาพื้นฐาน ในการดำรงชีวิต เช่น การเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ในระยะแรกเทคโนโลยีที่นำมาใช้ เป็น เทคโนโลยีพื้นฐานไม่สลับซับซ้อนเหมือนดังปัจจุบัน การเพิ่มของประชากร และข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งมีการพัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศเป็นปัจจัยด้านเหตุสำคัญในการนำและพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กันมาก เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับประเทศตะวันตก ได้ศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ โดยหลักสำคัญคือ ความรู้ทาง ิทยาศาสตร์คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น (Why) เช่น นักฟิสิกส์ อธิบายว่า เมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้า และน้ำเกิดจากไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจนเป็นต้น
วิทยาการและความล้ำหน้าทางเทคโนโลยี
ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เป็นที่สนใจของคนทุกมุมโลกทุกสาขา เทคโนโลยีจึงเป็นที่แพร่หลายและถูกนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานและดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนการศึกษาในสมัยนี้จึงมีหลักสูตรที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีเข้าไปด้วย หากถามว่าเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าที่สุดและคนทั้งโลกให้ความสำคัญมากที่สุดคงปฏิเสทไม่ได้ว่าคือเทคโนโลยีสารสนเทศหรือที่เรารู้จักกันดีคือคอมพิวเตอร์เพราะปัจจุบันนี้เรามองไปทางไหนก็น่าจะมีอะไรที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศไปหมด ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์ มือถือ อินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์เตอร์ PDA GPS ดาวเทียม ก็ล้วนแต่เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศ และไม่นานมานี้ได้มีการออก พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นการบ่งบอกว่าสังคมให้ความสำคัญแก่คอมพิวเตอร์
อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติ ที่มีสายตรงเชื่อมต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทั่วโลก. ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางอีเมล์ สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้. อย่างไรก็ตาม มีผู้เปรียบเทียบว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเหมือนทางหลวงระหว่างประเทศ แต่ละประเทศจะต้องมีถนนเข้ามาเชื่อมต่อเข้าไปในประเทศ กล่าวคือ จะต้องมีเครือข่ายภายในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง (เช่น เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย, องค์กร หรือเครือข่ายของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต) มิฉะนั้นก็จะใช้ไม่ได้ผล
ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
1.             ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(Electronic mail=E-mail) เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้องส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ และแนบไฟล์ไปได้
2.             เทลเน็ต(Telnet) การใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกล ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น สามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียนมาทำที่บ้านได้
3.             การโอนถ่ายข้อมูล(File Transfer Protocol ) ค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง
4.             การสืบค้นข้อมูล (Gopher,Archie,World wide Web) การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมาย ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกได้
5.             การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น(Usenet) เป็นการบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก แสดงความคิดเห็นของตน โดยกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
6.             การสื่อสารด้วยข้อความ (Chat,IRC-Internet Relay chat) เป็นการพูดคุย โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม
7.             การซื้อขายสินค้าและบริการ(E-Commerce = Electronic Commerce) เป็นการซื้อ - สินค้าและบริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต
8.             การให้ความบันเทิง (Entertain) บนอินเทอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงหลายรูปแบบต่างๆ เช่น รายการโทรทัศน์ เกม เพลง รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง

เทคโนโลยีอินเตอรืเน็ต

เทคโนโลยีอินเตอรืเน็ต

เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต