วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ลิขสิทธ์บนโลกออนไลน์

SOPA และ PIPA เป็นอีกตัวอย่างของการกำกับดูแลในโลกนวัตกรรม ที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ในธุรกิจของเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปัญหาที่สำคัญ คือ เป็นการเพิ่มขอบเขต อำนาจ และความผิดให้เกินกว่าที่เคยกำหนดไว้ใน Digital Millennium Copyright Act (DMCA) ซึ่งถูกบังคับใช้ในปี 1998 และได้เคยกำหนด Safe Harbor สำหรับผู้ให้บริการที่ได้ล่วงละเมิดลิขสิทธิ์โดยมิได้เจตนา หากได้แก้ไขการกระทำผิดหลังจากได้ถูกแจ้งเตือน

ในยุค Social Media ข้อมูลข่าวสารส่วนใหญ่ล้วนถูกนำเสนอโดยผู้ใช้ ซึ่งผู้ให้บริการมีหน้าที่อำนวยความสะดวกในการนำเสนอ ส่งต่อ และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ใช้งาน แต่ถึงกระนั้น SOPA และ PIPA ได้กำหนดความผิด โดยผู้ให้บริการ เช่น Wikipedia, Facebook, Twitter ฯลฯ ต้องรับผิดชอบต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ใช้งาน แม้ทางบริษัทจะไม่มีส่วนรู้เห็นก็ตาม นอกไปจากนี้ ยังได้กำหนดความผิดต่อการสร้างลิงค์ไปสู่เว็บไซต์ที่มีการละเมิด แม้จะเป็นผลลัพธ์ของการสืบค้นโดย Search Engine เช่น Google

ปัจจุบันมีการนำเสนอข้อมูลข่าวสารบน Social Media กว่าล้านครั้งในทุกๆ หนึ่งนาที ซึ่งได้เปลี่ยนแนวคิด แนวปฏิบัติไปจากรูปแบบเดิม การที่ต้องมาตรวจสอบหรือกระทั่งรับผิดต่อข้อมูลข่าวสารทุกชิ้นทุกประการที่มีการนำเสนอ ทำได้ยากมากหรือเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับผู้ให้บริการ Social Media ในกรณีของ Search Engine อีกเช่นกัน Google ใช้ระบบ Software เพื่อทำสารบัญเว็บนับล้านล้านหน้า และประมวลผลสืบค้นให้กับผู้ใช้งานอย่างอัตโนมัติ หากต้องมาตรวจสอบหรือรับผิดชอบต่อผลสืบค้นทุกชิ้นทุกประการ ย่อมทำได้ยากหรือไม่ได้เลย

ที่ได้กล่าวไปนั้น เป็นเพียงบางส่วนของปัญหาที่ได้เกิดขึ้น จากการพยายามกำกับดูแล ที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง

อย่างไรก็ดี ปัญหาเช่น SOPA และ PIPA กลับไม่ใช่เรื่องใหม่ เมื่อปีที่แล้ว ในประเทศไทย ได้มีความพยายามที่จะแก้ไข พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการเพิ่มขอบเขต อำนาจ และความผิดให้มากกว่าฉบับเดิมที่ได้ระบุไว้ในปี 2550 โดยส่วนหนึ่งได้มีการระบุความผิดของผู้ดูแลระบบ จากเดิมเป็นการระบุความผิดของผู้ให้บริการ ทั้งนี้ กลับสามารถสร้างปัญหาให้ได้มากกว่า SOPA และ PIPA จนกระทั่งเกิดการเอาผิดกับประชาชนและผู้ใช้ Social Media อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ เป็นที่มาของการจัดเสวนา เล่นเน็ตติดคุก : พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ใหม่ คุ้มครองหรือคุกคาม แต่เคราะห์ดีที่ร่างฉบับนี้ ไม่ได้ถูกบังคับใช้เป็นกฎหมาย หลังเกิดการประท้วงอย่างล้นหลาม

แต่ถึงกระนั้น เรื่องราวของ SOPA และ PIPA กลับสะท้อนให้เห็นว่า Social Media เป็นสื่อที่มีอานุภาพ จากการประท้วงในรูปแบบต่างๆ เพียง 24 ชั่วโมง ซึ่งได้ชัยชนะ และกฎหมายสองฉบับได้ถูกชะลอออกไปอย่างไม่มีกำหนด

หากมองในเชิงเปรียบเทียบ อาจเป็นข้อได้เปรียบของชาวอเมริกัน ที่ Social Media ที่ทรงอิทธิพลที่สุดล้วนเป็นของคนชาติ การรวมตัวเพื่อแสดงจุดยืนจึงสามารถกระทำได้ แต่สำหรับประเทศไทย กลับไม่มี Social Media ที่ทรงอิทธิพลของตัวเอง การรวมตัวเพื่อแสดงจุดยืนกลับทำได้ยาก ในขณะที่การประท้วง SOPA และ PIPA กลับถูกสะท้อนถึงทั่วโลก แต่การประท้วง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กลับเป็นเรื่องราวเฉพาะกลุ่ม ที่ประชากรของประเทศส่วนใหญ่ไม่ได้รับรู้เลย

สำหรับผู้ใช้สื่อออนไลน์ทุกคน เรื่องนี้ไม่ได้ไกลตัวอีกต่อไป ควรเฝ้าระวังถึงการลิดรอนสิทธิ์ หรือความเสี่ยงต่อการกระทำผิด จากการกำกับดูแลในโลกเทคโนโลยี ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่าง Disruptive Change

1 ความคิดเห็น:

  1. A stainless steel cross necklace - Titanium Cross Neck
    › en-gb › jewelry › en-gb › jewelry head titanium ti s6 In blue titanium cerakote this beautiful cross necklace, you can enjoy how strong is titanium the best and most authentic jewelry created by independent artists. Shop for a glass grade 5 titanium necklace at T-Shirts for  Rating: 5 1 review 벳 인포

    ตอบลบ