วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555

โปรแกรมbrowserแต่ละประเภท

โปรแกรมบราวเซอร์ (Browser)
     เว็บบราวเซอร์ (web browser) หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่    ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเชทีเอ็มแล (HTML)ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับ              เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
ในระยะเริ่มต้นนั้นโปรแกรมบราวเซอร์ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ดูเอกสารของ         เครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บเป็นหลัก จึงทำให้ผู้ใช้จำนวนมากเข้าใจว่าโปรแกรมบราวเซอร์กับโปรแกรมเรียกใช้บริการของเว็บเป็นสิ่งเดียวกัน แต่ในปัจจุบันโปรแกรมบราวเซอร์ได้ขยายขีดความสามารถมากขึ้นเรื่อย ๆ จนสามารถใช้เรียกบริการต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ตได้แทบทุกชนิด โดยการระบุชื่อโพรโตคอลของบริการต่าง ๆ นำหน้าตำแหน่งที่อยู่ (address หรือชื่อ        โดเมนของเครื่องบวกกับชื่อไฟล์บริการของบริการ) ที่ต้องการ เช่น

http://www.netscape.com http://www.cnn.com/welcome.htm
gopher://gopher.tc.umn.edu
ftp://ftp.nectec.or.th/pub/pc
file://C:/WINDOWS/Modem.txt
โพรโตคอล http ที่อยู่คือเครื่อง www.netscape.com
โพรโตคอลhttp ที่อยู่คือเครื่อง www.cnn.com แฟ้ม welcome.htm
โพรโตคอลgopher ที่อยู่คือเครื่อง gopher.tc.cum.edu
โพรโตคอล ftp ที่อยู่คือเครื่อง ftp.nectec.or.th และราก /pub/pc
โพรโตคอลfile ที่อยู่คือฮาร์ดดิสก์ c:\WINDOWS แฟ้ม Modem.txt
เครื่องหมาย :// จะเป็นชนิดของโพรโตคอล และข้อความด้านหลังจะเป็นที่อยู่ของบริการนั้น ๆ (หากไม่ได้ระบุชื่อแฟ้มไว้ด้านหลังชื่อเครื่องโดยใช้ / คั่น จะเป็นการใช้ชื่อแฟ้มเริ่มต้นโดยปริยาย (default) ของเครื่องนั้น) การระบุโพรโตคอลพร้อมที่อยู่เช่นนี้เรียกว่า URL (Uniform Resource Locator) ซึ่งความหมายก็คือการใช้รูปแบบเดียวในการหาทรัพยากรต่าง ๆ นั้นเอง นอกจากนี้ ในตัวอย่างสุดท้ายจะเห็นได้ว่าโปรแกรมบราวเซอร์สามารถใช้ในการเปิดแฟ้มที่อยู่ในฮาร์ดดิสก์ของผู้ใช้ได้เสมือนกับเป็นบริการหนึ่งในอินเทอร์เน็ต นั่นคือโปรแกรมบราวเซอร์มีแนวโน้มที่ชัดเจนว่ากำลังพยายามทำตัวเป็นเปลือก (shell)ที่ครอบอยู่เหนือระบบปฏิบัติการอีกชั้นหนึ่ง อันจะทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานบริการต่าง ๆ ได้กับ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภท โดยไม่ต้องกังวลถึงความแตกต่างของฮาร์ดแวร์หรือระบบปฏิบัติการอีกต่อไป
โปรแกรมบราวเซอร์ระยะแรก ๆ จะเป็นข้อความ (text) ทำให้ไม่ได้รับความนิยม    แต่เมื่อห้องปฏิบัติการ CERN ออกโปรแกรม MOSAIC ซึ่งเป็นบราวเซอร์ที่ใช้ ระบบการติดต่อ   ผู้ใช้แบบกราฟฟิก (GUI) ตัวแรก ก็ทำให้โปรแกรมบราวเซอร์ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์มากนัก เนื่องจากระบบการติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟฟิก ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานบริการต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดายด้วยการชี้แล้วเลือก (point and click) โดยแทบจะไม่ต้องใช้แป้นพิมพ์เลย รวมทั้งบราวเซอร์กราฟฟิกยังทำให้สามารถสร้างเวบเพจที่มีสีสันและรูปภาพสวยงาม อันเป็น การดึงดูดใจให้มีผู้นิยมใช้งานมากขึ้นเรื่อย ๆ
อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน MOSAIC ไม่ได้มีการพัฒนาต่อแล้ว เนื่องจากห้องปฏิบัติการ CERN   ไม่ได้เป็นหน่วยงานที่หวังผลกำไร     การพัฒนาเป็นการพัฒนา  MOSAIC   เพื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเท่านั้น บราวเซอร์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบันก็คือบราวเซอร์ที่เป็นแชร์แวร์ จาก Netscape คือโปรแกรม Netscape Communicator ส่วนอันดับ 2 คือ บราวเซอร์ฟรีแวร์จาก Microsoft คือโปรแกรม Internet Explorer (IE) ซึ่งบราวเซอร์จากทั้ง 2 บริษัทได้มีการขยายขีดความสามารถใหม่ ๆ มากมาย เช่น การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) การใช้งานกลุ่มข่าว (newsgroup) การประชุมทางไกล (video conference) การสร้างเว็บเพจ (web authoring) ตลอดจนการดูภาพแบบสามมิติ (VRML) เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายขีดความสามารถในการแทนที่ระบบปฏิบัติการ และการเพิ่มเทคโนโลยีการผลัก (push) ข้อมูล ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่จะไม่รอให้ผู้ใช้เป็นฝ่ายเรียกเข้าอินเทอร์เน็ตเพื่อดึง (pull) ข้อมูล แต่จะส่ง (push) ข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ (เช่น ข่าวต่าง ๆ) มายังเครื่องผู้ใช้
รายชื่อโปรแกรมบราวเซอร์ที่เป็นที่นิยม
  1. อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ (Internet Explorer) โดยบริษัทไมโครซอฟต์
  2. มอสซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ (Mozilla Firefox) โดยมูลนิธิมอสซิลลา
  3. เน็ตสเคป นาวิเกเตอร์ (Netscape Navigator) โดยบริษัทเน็ตสเคป
  4. ซาฟารี (Safari) โดยบริษัทแอปเปิล  คอมพิวเตอร์
  5. โอเปร่า (Opera) โดยบริษัทโอเปร่า ประเทศนอร์เวย์
  6. คามิโน
  7. แมกซ์ทอน

http://media.rajsima.ac.th/sujittra/unit1_p9.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น