วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555

อธิบายรูปแบบโครงสร้างและหน้าที่การทำงานของโปรโตคอน

โครงสร้างของระบบ DNS นั้นจะเป็นแบบมีลำดับชั้น (Hierarchy) ดังรูป
 โครงสร้างของระบบ  DNS
  1. Root  Domain : ลำดับสูงสุดของระบบโดเมนคือ รูทโดเมน (Root  Domain) ทุก ๆ โดเมนจะรู อยู่ภายใต้รูทโดเมนหมด  ดังนั้นรูทโดเมนจึงเป็นส่วนที่สำคัญมากของระบบ DNS ในระบบอินเทอร์เน็ตนั้นรูทโดเมนประกอบด้วยเซิร์ฟเวอร์ 7 เครื่อง
  2. Top-Level  Domain : ระดับโดเมนที่รองลงมาจากรูทโดเมนจะเรียกว่า โดเมนระดับหนึ่ง (Top-Level  Domain) โดเมนในระดับนี้จะถูกกำหนดให้โดยประเภทขององค์กรและประเทศโดเมนในระดับนี้จะมีคนแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ  โดเมนขององค์กร โดเมนของประเทศ และโดเมนการแปลงกลับ
  3. Second- Level  Domain : สำหรับโดเมนระดับรองรองลงมาจากท็อปเลเวลนี้เป็นโดเมนที่แจกจ่ายให้กับองค์กรหรือบุคคลที่ต้องการชื่อโดเมน
2  โดเมนแบ่งตามหน้าที่ขององค์กร
โดเมนในระดับหนึ่งนี้จะอยู่ถัดจากรูทโดเมน แต่ละโดเมนจะใช้โค้ดที่เป็นตัวอักษร 2-4 ตัวเพื่อบ่งบอกจุดประสงค์หรือหน้าที่หลักขององค์กรนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น .COM เป็นโดเมนในระดับนี้
2.1  โดเมนของประเทศ
        นอกจากในการตั้งชื่อโดเมนให้เหมาะกับประเภท หรือหน้าที่ขององค์กรแล้ว  การตั้งชื่อโดเมนยังใช้ประเทศในการแบ่ง ซึ่งจะใช้ตัวอักษร 2 ตัวเป็นการบอกชื่อ
                                           โดเมนประเทศ

โดเมน
ประเทศ
.thไทย
.ukอังกฤษ
.auออสเตรเลีย
.jpญี่ปุ่น
.krเกาหลี
ชื่อโดเมนยังจะสามารถใช้แบบผสมระหว่างทั้งสองประเภท ที่กล่าวข้างต้น  โดยโดเมนที่บ่งบอกประเทศจะอยู่ขวาสุด และถัดมาจะเป็นตัวอักษร 2-3 ตัวของโดเมนที่บอกประเภทขององค์กร เช่น .co + .th จะได้โดเมนเป็น  .co.th  หมายความว่าเป็นโดเมนของบริษัทหนึ่งที่อยู่ในประเทศไทย
3  ประเภทของ DNS เซิร์ฟเวอร์
ข้อมูลที่เก็บไว้ใน DNS เซิร์ฟเวอร์แต่ละเครื่องจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับหน้าที่ หรือประเภทของ DNS เซิร์ฟเวอร์นั้น หน้าที่ของเซิร์ฟเวอร์นั้นจะเป็นสิ่งที่กำหนดว่าข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์อย่างไร  โดย DNS เซิร์ฟเวอร์แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
3.1  Primary  Name  Server
เนมเซิร์ฟเวอร์หลัก(Primary  Name  Server) คือ เซิร์ฟเวอร์ที่อ่านข้อมูลเกี่ยวกับคอนฟิกูเรชันจากไฟล์ที่เก็บอยู่ในเครื่องนั้น การเปลี่ยนแปลงข้อมูลของโซน เช่น การเพิ่มเร็คคอร์ดต่าง ๆ จะต้องทำที่เนมเซิร์ฟเวอร์หลักเท่านั้น
3.2  Secondary  Name  Server
เนมเซิร์ฟเวอร์รอง (Secondary  Name  Server) จะถ่ายโอนข้อมูลของโซนจากเนมเซิร์ฟเวอร์เครื่องอื่นซึ่งอาจเป็นเนมเซิร์ฟเวอร์หลัก หรือเนมเซิร์ฟเวอร์รองก็ได้
 กระบวนการถ่ายโอนข้อมูลเกี่ยวกับโซนนี้จะเรียกว่า“โซนทรานสอร์ (Zone  Transfer)” การมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์รองนั้นมีประโยชน์ดังนี้
  1. Redundancy : แต่ละโซนจะต้องมีเนมเซิร์ฟเวอร์หลักหนึ่งเครื่อง และเซิร์ฟเวอร์รองหนึ่งเครื่อง  เซิร์ฟเวอร์รองจะทำหน้าที่แทนเซิร์ฟเวอร์หลักเมื่อเซิร์ฟเวอร์หลัก
  2.  Distribution :เซิร์ฟเวอร์รองควรตั้งอยู่คนละที่กับเนมเซิร์ฟเวอร์หลัก หรือที่ที่มีไคลเอนท์มากพอสมควร  เพื่อเป็นการช่วยลดปริมาณแพ็กเก็ตที่ต้องวิ่งผ่านระบบ WAN เนื่องจากเนมเซิร์ฟเวอร์รองก็ทำหน้าที่เหมือนกับเนมเซิร์ฟเวอร์หลัก
  3. Load  Balancing : การใช้เนมเซิร์ฟเวอร์รองนั้นจะช่วยแบ่งเบาโหลดของเนมเซิร์ฟเวอร์หลักได้ ซึ่งจะช่วยให้เวลาในการโพรเซสและตอบกลับ (Response  Time) เร็วขึ้น
 3.3  Master  Name  Server
มาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์ (Master  Name  Server) เป็นแหล่งข้อมูลโซนของเซิร์ฟเวอร์รอง ดังนั้นเมื่อมาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์อาจจะเป็นเนมเซิร์ฟเวอร์หลักก็ได้ หรือเนมเซิร์ฟเวอร์รองก็ได้ เมื่อเปิดเนมเซิร์ฟเวอร์รองครั้งแรกทำการติดต่อกับมาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์เพื่อทำโซนทรานสเฟอร์         สำหรับในแต่ละโซนที่เซิร์ฟเวอร์นี้จะทำหน้าที่เป็นเนมเซิร์ฟเวอร์รอง
โซนทรานสเฟอร์จะเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ หรือเมื่อใดก็ตามที่ข้อมูลเปลี่ยนแปลงบนมาสเตอร์เนมเซิร์ฟเวอร์
3.4  Forwarders  and  Slaves
เมื่อเนมเซิร์ฟเวอร์ได้รับการตอบถาม (Query) เข้ามา เครื่องนั้นก็จะทำการตรวจตอบข้อมูลเกี่ยวกับโซนนั้นในเซิร์ฟเวอร์นั้นก่อน แต่ถ้าเซิร์ฟเวอร์นั้นไม่มีข้อมูลอยู่ หรือไม่มีข้อมูลที่เป็นต้นฉบับ (Non-Authoritative) ของโซนนั้น มันก็จะทำการติดต่อกับเนมเซิร์ฟเวอร์เครื่องอื่น
โดยส่วนใหญ่แล้วกรณีนี้จะเกิดขึ้นเมื่อโซนที่สอบถามมานั้น ไม่อยู่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน DNS จะกำหนดให้เนมเซิร์ฟเวอร์เครื่องหนึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องส่งต่อ (Forwaeder) เพื่อทำหน้าที่ร้องขอข้อมูลไปยังเนมเซิร์ฟเวอร์อื่นที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต และส่งผลที่ได้กลับไปยังเนมเซิร์ฟเวอร์ที่ทำการร้องขอมา  ถ้าเครื่องฟอร์เวิลด์เดอร์ไม่สามารถกลับไปร้องขอได้ เนมเซิร์ฟเวอร์ที่ร้องขอมาจะต้องตัดสินเองว่าจะตอบการร้องขออย่างไร การที่เนมเซิร์ฟเวอร์จะตอบ
การร้องขอเอง ในกรณีที่ฟอร์เวิลด์เดอร์ไม่ทำงาน จะเรียกว่าเป็น “นอนเอ็กซ์กลูชีพโหมด (Nonexclusive  Mode)”
 3.5  Caching-only  Name  Server
ดีเอ็นเอสเซิร์ฟเวอร์ จะทำการเก็บเร็คคอร์ดของโซนที่ได้รับการตอบกลับแล้วไว้ในแคชเป็นเวลาช่วงหนึ่ง ซึ่งถ้าเซิร์ฟเวอร์นี้ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับโซนที่เก็บไว้ในรูปไฟล์ จะเรียกว่า “แคชชิ่งโอนลีเนมเซิร์ฟเวอร์  (Caching-only  Name  Server)”  ดังนั้นมันจึงไม่มีการทำ
โซนทรานสเฟอร์
ในตอนแรกที่แคชชิ่งเซิร์ฟเวอร์ทำงาน ในเซิร์ฟเวอร์จะไม่มีข้อมูลใด ๆ เลยดังนั้นมันจึงทำการส่งต่อการร้องขอทั้งหมดไปยังเนมเซิร์ฟเวอร์เครื่องอื่น  ในขณะเดียวกันก็ทำการเก็บข้อมูลการร้องขอต่าง ๆ ที่ได้รับการตอบกลับมาไว้ในแคช ครั้งต่อไปที่มีการร้องขอที่เหมือนกันมันก็สามารถตอบกลับได้ทันที  ในตอนแรกนั้นแคชเซิร์ฟเวอร์จะรับส่งข้อมูลในปริมาณที่มาก  เนื่องจากตอนแรกยังไม่มีข้อมูลอยู่ในแคชเลย แต่เนื่องจากแคชชิ่งเซิร์ฟเวอร์ไม่ต้องทำโซนทรานสเฟอร์  ดังนั้นปริมาณแพ็กเก็ตก็จะน้อยลงเมื่อถึงช่วงเวลาหนึ่ง
4  ขั้นตอนการทำงานของ  DNS
กระบวนการในการร้องขอ (Query) ของระบบ DNS จะมีด้วยกัน  3  วิธีคือ รีเคอร์ชีพ (Recursive) , อินเตอร์แอ็คทีฟ (Interactive) และอินเวอร์ส (Inverse)
การร้องขอแบบรีเคอร์ชีพและอินเตอร์แอ็คทีฟ
โดยปกติการร้องขอแบบรีเคอร์ชีพ  (Recursive  Query) จะเกิดขึ้นระหว่างไคลเอนท์และเนมเซิร์ฟเวอร์  การที่เนมเซิร์ฟเวอร์ได้รับการรร้องขอแบบนี้จะตอบกลับด้วยข้อมูลที่เกี่ยวกับโดนเมนนั้น หรืออาจตอบกลับเป็นข้อความที่บอกการผิดพลาดถ้าข้อมูลของโดเมน หรือโฮสต์นั้นไม่มีระบบ เนมเซิร์ฟเวอร์ที่ได้รับการร้องขอแบบรีเคอร์ชีพนี้  จะรับผิดชอบเกี่ยวกับการค้นหาข้อมูลของโดเมนหรือโฮสต์ โดยจะไม่สามารถส่งต่อเพื่อการร้องขอให้เนมเซิร์ฟเวอร์อื่นได้  อย่างไรก็ตามเนมเซิร์ฟเวอร์สามารถร้องขอแบบอินเตอร์แอ็คทีฟ (Interactive) กับเนมเซิร์ฟเวอร์อื่นได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น